SI (system integration) คืออะไร ทำความรู้จัก SI ฉบับเข้าใจง่าย

ตัวอย่างการทำงานของ system integration

เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด การนำเทคโนโลยีมาใช้การอย่างแพร่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1760 ที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งด้านการเกษตร การคมนาคม การทำเหมือง ก็ล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกทั้งสิ้น

การมาของเทคโนโลยีทำให้วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป พร้อมทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปดีขึ้นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีต่าง ๆ ล้วนถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์อยู่แล้ว และนอกจากจะช่วยให้สะดวกสบายแล้ว ยังสามารถทำให้ผลผลิตที่ได้มีมากขึ้น หรือสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้รายได้ของทุกคนเพิ่มสูงขึ้น

ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ถูกพัฒนาจากที่ต้องใช้มนุษย์คอยควบคุม จนในตอนนี้ได้มีระบบอัตโนมัติถูกสร้างขึ้นมาให้ทำงานทั้งหมด เพื่อลดบุคลากรลง ประหยัดต้นทุนในการผลิต และสามารถลดปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรไปได้อย่างมาก นั้นคือ System Integration หรือ SI

ตอนนี้ท่านผู้อ่านคงกำลังเกิดคำถามแล้วว่า si คืออะไร แล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง แล้ว system integrator ทำหน้าที่อะไร วันนี้เราจะทำความรู้จักเบื้องลึกของ system integration คือสิ่งที่จะทำให้โลกพัฒนาต่อไปได้อย่าง ไปดูกันเลย

si (system integration) หรือ ระบบ si คือ

si ย่อมาจาก system integration โดยเป็นการรวมกันของ system ซึ่งแปลว่า ระบบ กับคำว่า Integration ซึ่งแปลว่า การรวบรวมหรือบูรณาการ และเมื่อนำคำทั้ง 2 คำนี้มารวมกันเป็น system integration คือ ระบบบูรณาการ ซึ่งในความหมายเป็นทางการ ระบบ si คือการเชื่อมโยงและพัฒนาระบบงาน หรือที่สามารถเข้าใจง่าย ๆ คือการเชื่อมโยงระบบใหม่กับระบบเก่าเข้าด้วยกัน

ตัวอย่างการใช้ระบบ Si คือการใช้ในโรงงาน ซึ่งอาจจะมีเทคโนโลยีของเดิมอยู่แล้ว แต่เราต้องการเพิ่มเครื่องจักร หรือต่อเติมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไป system integration ตัวนี้จะเป็นตัวเชื่อมเทคโนโลยีทั้งสองเข้าด้วยกันนั้นเอง

System Integration กับ System Integrator แตกต่างกันอย่างไร

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า system integration คือระบบบูรณาการ ถ้าให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือระบบอัตโนมัติที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรนั้นเอง แล้ว system integration เกิดขึ้นมาได้อย่างไรนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้ที่ออกแบบและพัฒนาระบบ si หรือก็คือ system integrator นั้นเอง

system integrator คือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญในระบบบูรณาการหรือระบบอัตโนมัตินั้นเอง โดยหน้าที่ส่วนใหญ่ของ system integrator คือการศึกษาขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์หลักอย่างละเอียด ก่อนจะพัฒนาสร้างอุปกรณ์เสริมหรือเขียนโปรแกรมออกมาเพื่อให้การทำงานของอุปกรณ์หลักเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น จนถึงขั้นพัฒนาหุ่นยนต์ หรือ AI ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

ดังนั้นสรุปได้ว่า system integrator คือผู้ที่ออกแบบสร้างระบบ system integration ให้ตรงตามความต้องการใช้งานของลูกค้า โดยการวิเคราะห์กระบวนการผลิตอย่างละเอียด ก่อนจะเขียนโปรแกรม สร้างหุ่นยนต์ออกมาให้ตรงตามที่ต้องการนั้นเอง

System Integration สำคัญอย่างไร

ตัวอย่างโรงงานอาหารที่ใช้ระบบ system integration

system integration แม้จะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ อย่างระบบจัดการอัตโนมัติในโรงงานขนาดเล็กไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ แต่ถ้าให้คิดดี ๆ แล้ว จะเห็นได้ว่าระบบ si จะช่วยทำให้พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล และสังคมได้อย่างไม่น่าเชื่อ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ระบบ si ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดเวลาในการผลิต

การนำระบบ system integration มาใช้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตได้จากการวางแผนการจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด หรือไม่เกิดข้อผิดพลาดขึ้นเลย นอกจากนี้ การใช้ระบบอัตโนมัติยังสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้บุคลากรที่มากเกินไป แต่ในส่วนนี้อาจจะยังมีข้อจำกัดเรื่องราคาของเครื่องจักร ที่จะสูงไปตามประสิทธิภาพของมัน โดยจากที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้าใช้ระบบ system integration ยังสามารถช่วยประหยัดเวลาจากการทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

System Integration ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุง

เนื่องจากระบบ system integration เป็นการบูรณาการระบบหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน ดังนั้นเหมือนมีสิ่งใดหรือส่วนใดเกิดการชำรุดเสียหาย ค่าการแสดงผลบางอย่างอาจจะเปลี่ยนไป ทำให้รับ system integration รับรู้ และประมาณผลได้ว่าส่วนใดมีปัญหา รวมไปถึงอาจจะรู้ด้วยว่าอุปกรณ์ใดชำรุด ต้องซ่อมบำรุงอย่างไร ทำให้สะดวกแก่ผู้ใช้งานหรือผู้ทำการซ่อมบำรุงเป็นอย่างมาก

System Integration ช่วยกระตุ้นให้มนุษย์มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

ระบบ system integration เป็นระบบที่ออกแบบมีเพื่อการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ อย่างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการทำงานทุกขั้นตอนจึงต้องมีการวางแผน ศึกษากระบวนการอย่างถี่ถ้วน ก่อนจะนำทดลอง แล้วใช้จริงต่อไป

ด้วยการทำกิจกรรมใด ๆ ซ้ำนี้เอง เป็นส่วนที่เราสามารถใช้เครื่องจักรมาแทนแรงงานคนได้ อีกทั้งแรงงานคนอาจมีประสิทธิภาพงานขึ้นอยู่กับความชำนาญในการทำงานสิ่งนั้นเป็นเวลานานจนเกิดเป็นประสบการณ์ ทำให้สามารถทำงานได้เร็ว แต่กลับคนที่มาใหม่ประสิทธิภาพการทำงานก็จะลดลงไปอย่างมาก ซึ่งต่างจากเครื่องจักร ที่สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพเท่ากันอยู่เสมอ ถึงแม้อาจจะลดลงบ้างตามการสึกหรอของเครื่องจักร แต่เราสามารถซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนอะไหล่ได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าระบบ system integration จะมีบทบาทเข้ามาแทนที่คนในโรงงานต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้คนตกงานจำนวนไม่น้อย ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อที่ตัวเองจะได้มีงานทำ ทั้งตนเองหรือเด็กที่กำลังศึกษาเล่าเรียนจึงจำเป็นที่จะต้องหาความรู้เพิ่มเติม และฝึกความสามารถพิเศษต่าง ๆ เสริมเข้าไป ทำให้มีการแข่งขันกันสูงเพื่อที่จะได้มีงานทำ

ขั้นตอนของการทำ System Integration

ขั้นตอนในการทำ system integration จะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ว่ามีความต้องการอย่างไร ซึ่งแต่ระบบบริษัทต่างมีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกันไป แต่หน้าที่หลัก ๆ ของ system integrator คือเริ่มจาก

  1. เก็บข้อมูล ทางทีมงานจะสอบถามความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมโรงงานหรือสร้างขึ้นมาใหม่ เลือกใช้ระบบแบบใด ต้องการเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตเท่าไหร่ต่อวัน เป็นต้น 
  2. ออกแบบระบบ เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการมาแล้ว ต่อไปคือการนำข้อมูลนั้นมาประมวลผล เพื่อออกแบบ วางแผนให้ระบบต่าง ๆ สามารถบูรณาการกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ติดขัด
  3. ตรวจสอบ เมื่อได้รับข้อมูลความต้องการของลูกค้า แล้วนำมาออกแบบเสร็จเรียบร้อย ต่อจากนั้นคือการตรวจสอบแผนที่วางเอาไว้กับลูกค้า เพื่อยืนยันความถูกต้อง ก่อนจะนำไปใช้จริง
  4. สร้าง เมื่อได้รับการตรวจสอบจากลูกค้าแล้ว ทาง system integrator ก็จะเริ่มลงมือเก็บข้อมูลการทำงานทุก ๆ ขั้นตอนของเครื่องยนต์ทั้งหมด เพื่อที่จะได้สามารถเขียนโปรแกรม หรือสร้างหุ่นยนต์ออกมาเพื่อตอบสนอง ซึ่งเพื่อให้การผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยที่สุด จึงจำเป็นที่จะต้องทดลองเสียก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้งานจริงได้

ระบบ System Integration เหมาะกับใคร

การนำระบบ sytem integration มาใช้ สามารถใช้ได้กับทุก ๆ โรงงาน หรือทุก ๆ อุตสาหกรรม ซึ่งจะทำงานแตกต่างกันไปในแต่ละโรงงาน เช่นโรงงานเกี่ยวกับอาหารจะเน้นในระบบลำเลียง กับระบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบเป็นต้น

ด้วยระบบ system integration ถูกออกแบบมาให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุนการผลิตในเวลาเท่าเดิม จึงเหมาะกับการนำไปใช้ในทุก ๆ ธุรกิจ แต่ก็มีข้อจำกัดที่สำคัญคือ ราคาเครื่องจักร และระบบ system integration ที่ใช้ค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบชั่งน้ำหนักความคุ้มค่าว่าการใช้เครื่องจักร หรือแรงงานคนจะตอบโจทย์ขนาดธุรกิจของคุณมากที่สุด

สรุป

การซ่อมบำรุงจากการแจ้งเตือนของ system integration

system integration หรือระบบ si คือ คือการรวบระบบหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือก็คือระบบอัตโนมัตินั้นเอง ซึ่งการมาของระบบ si นี้เอง จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะอัตราการแข่งขันกันจะสูงขึ้น เพราะถ้าเราไม่พัฒนาตัวเองต่อไป อาจจะทำให้ตกงานได้ ถ้าคุณสามารถทำผลงานได้น้อยกว่าการใช้ระบบ si

ในปัจจุบันโรงงานงานต่าง ๆ เริ่มที่จะนำระบบ system integration เข้ามาใช้ เพราะนอกจากจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุนและเวลาในการผลิตลงได้อย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาเรื่องบุคลากรที่มักจะมีปัญหามากที่สุด ซึ่งแต่ละคนจะมีประสบการณ์ ความชำนาญไม่เท่ากัน ดังนั้นประสิทธิภาพของงานจึงอาจจะลดหลั่นกันไป

นอกจากเรื่องประสิทธิภาพของบุคลากรที่ไม่เท่ากันแล้ว ปัญหาระหว่างบุคลากรกันเองก็จะส่งผลต่องานเช่นกัน ยังรวมถึงการลางาน ขาดงาน ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถผลิตได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแตกต่างจากเครื่องจักร ที่สามารถผลิตงานออกมาได้ตามกำลัง และเป้าหมายที่กำหนด อาจจะมีประสิทธิภาพลดลงบ้างจากการสึกหรอหรือชำรุด ก็สามารถซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอะไหล่ได้อย่างง่ายได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ระบบ system integration อาจจะทำให้มีผลกระทบระยะสั้นให้แก่พนักงานในโรงงานต่าง ๆ ที่อาจจะตกงานจากการใช้เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ทำงานแทน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกระตุ้นให้บุคลากรเหล่านั้นและเด็กรุ่นใหม่ได้ศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงกว่าการทำงานของระบบ system integration ต่อไป