Server คืออะไร ระบบ เซิร์ฟเวอร์ ทำหน้าที่อะไร? มีกี่ประเภท?

server เซิร์ฟเวอร์ คือ อะไร

          การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งต้องมีการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ (servers) เชื่อว่าหลายคน คงได้ยินคำว่า เซอร์เวอร์, เซิฟเวอร์ กันมาบ้าง แล้วคุณเคยสงสัยกันมั้ยว่า Server คืออะไร? หน้าที่ของเซิร์ฟเวอร์มีอะไรบ้าง? คุณรู้หรือไม่ว่าระบบ server เบื้องต้น กับ       ระบบ server เครื่องคอมพิวเตอร์ ในองค์กรเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? server computer กับ web server มีความสัมพันธ์กันอย่างไร? เครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือ เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์นั้นมีกี่ประเภท? การใช้งานของเซิร์ฟเวอร์นั้นใช้งานอย่างไร หากคุณต้องการคำตอบ บทความนี้มีคำตอบสรุปครบให้คุณ

Server (เซิร์ฟเวอร์) คืออะไร

คำถามที่หลายคนคงสงสัยเซิร์ฟเวอร์ คืออะไร หน้าตาเป็นแบบไหน บทความนี้จะมาแจกแจงให้ทราบกัน

          เซอร์เวอร์ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักในระบบเครือข่าย (network) ทำหน้าที่เป็นตัวคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่มาเชื่อมต่อให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน และ ยังมีหน้าที่จัดการดูแลคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆอีกด้วย ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องใด ขอใช้อุปกรณ์อะไร
โปรแกรมอะไร ต้องการแฟ้มข้อมูลไหน เพื่อจะได้จัดสรร ส่งต่อไปยังระบบ server ให้เป็นอันเดียวกัน เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานของข้อมูลนั้นเอง

server เซิร์ฟเวอร์ คือ
server เซิร์ฟเวอร์ คือ

Server มีกี่ประเภท

          เซิฟเวอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ และอุปกรณ์ที่จับต้องไม่ได้ หรือที่เราเรียกกันว่า Software การทำงานของเซิร์ฟเวอร์นั้นขึ้นอยู่กับชนิดและสถานะของมันด้วย ซึ่งก็มีความแตกต่างกันไป ประเภทของเซฟเวอร์ จึงมีดังนี้

1. Physical Servers

          คือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานประมวลผล Server Software นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้ เราสามารถแบ่งประเภทของ Physical Server ได้ตามลักษณะ Form Factor ของตัวเครื่อง ซึ่งคือรูปทรงและขนาดของมันนั่นเอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลัก ดังนี้

  • Tower Servers
    เซิร์ฟเวอร์แบบฟอร์มทาวเวอร์นั้น มีลักษณะเป็นเครื่องแนวตั้ง วางเดี่ยวๆ แบบ Standalone ซึ่งก็มีรูปทรงเหมือน Desktop Computer ทั่วไปนี่เอง ต่างกันที่ Server ทรงนี้จะมีการระบายอากาศที่ถ่ายเทดีกว่า
  • Rack Servers
    เซิร์ฟเวอร์แบบ Rack นั้น ออกแบบมาเพื่อติดตั้งในตู้ Rack ในห้อง Data Center มักทำหน้าที่จัดการระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในศูนย์ข้อมูล รองรับปริมาณงานจำนวนมาก ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแบบ Tower ออกแบบมาเป็นรูปทรงแนวนอนมาตรฐาน เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์, UPS หรือ Switch จากแบรนด์ที่แตกต่างกัน สามารถวางติดตั้งทับซ้อนกันในตู้ Cabinet ได้
  • Blade Servers
    เบลดเซิร์ฟเวอร์คือ Device ขนาดกะทัดรัด ที่มีลักษณะเป็นกล่อง Composable ภายในเป็นตัว Blade Server ขนาดเล็กติดตั้งอยู่รวมกันหลายๆ ตัว แต่ละตัวมีระบบระบายอากาศ Cooling System ของตนเอง ทุกตัวมักอุทิศตนทำงานให้ Application อย่างเดียวร่วมกัน
  • Mainframes
    เมื่อช่วงยุค 1990 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้น ถูกคาดการณ์ว่าจะทำหน้าที่เป็น Server ในอนาคต แต่ปัจจุบันกลับไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากราคาที่สูง และโครงสร้างที่ใหญ่ ต้องลงทุนเยอะ ทำให้รูปแบบเซิร์ฟเวอร์ Tower, Rack และ Blade เป็นที่นิยมมากกว่า

2. Virtual Servers

          เซิร์ฟเวอร์นั้น ต้องการองค์ประกอบที่เป็น Software ขั้นต่ำ 2 ส่วน ได้แก่ ระบบประมวลผล (Operating System หรือ OS) และแอพพลิเคชั่น (Application) ตัว OS นั้นจะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับดำเนินการทำงาน Application ต่างๆ โดยช่วยให้เข้าถึงทรัพยากร Hardware พร้อมช่วยรองรับความต้องการต่างๆ ที่แอพพลิเคชั่นต้องการ

3. Server Software

          คือ ระบบServer แบบ Virtual เป็นการจำลองระบบขึ้นมา โดยระบบ เซิร์ฟเวอร์นี้ทำหน้าที่เสมือน Physical Server ต้องมีระบบปฏิบัติการและ application server เป็นของตนเองเช่นกัน การสร้าง Virtual Machines นั้น ต้องมีการติดตั้ง Software กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Hypervisor (หรือ VMware) ลงบท Physical Server ซึ่งเจ้า Hypervisor นี้จะทำหน้าที่ช่วยให้ Physical Server สามารถทำหน้าที่เป็น Host ที่จำลองเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงขึ้นมาอีกตัว

server เซิร์ฟเวอร์
server เซิร์ฟเวอร์

ส่วนประกอบของ Server เซิร์ฟเวอร์

          เซิร์ฟเวอร์นั้นถูกสร้างขึ้นมาด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย วันนี้เราจะมาเจาะลึกแต่ละชิ้นส่วนให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้กันมีดังนี้

1. Processor (โปรเซสเซอร์)

           ระบบประมวลผลหรือที่เรียกกันว่า CPU นั้น เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ทำหน้าที่ประมวลผลโปรแกรมและบริหารจัดการข้อมูล Server บางรุ่นอาจจะมี Processor หลายตัว ติดตั้ง 1 ตัวต่อ 1 Socket หรือบางรุ่นอาจจะใช้ตัวเดียว แต่ประกอบด้วยจำนวน Core หลายคอร์เพื่อรองรับการประมวลผลพร้อมๆ กัน ณ ช่วงเวลาเดียว สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้ คือจำนวน Core, CPU Clock Speed, Cache และจำนวน Socket Print

2. Memory (หน่วยความจำ)

           ระบบประมวลผลหรือที่เรียกกันว่า CPU นั้น เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ทำหน้าที่ประมวลผลโปรแกรมและบริหารจัดการข้อมูล Server บางรุ่นอาจจะมี Processor หลายตัว ติดตั้ง 1 ตัวต่อ 1 Socket หรือบางรุ่นอาจจะใช้ตัวเดียว แต่ประกอบด้วยจำนวน Core หลายคอร์เพื่อรองรับการประมวลผลพร้อมๆ กัน ณ ช่วงเวลาเดียว สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้ คือจำนวน Core, CPU Clock Speed, Cache และจำนวน Socket Print

3. Storage (หน่วยเก็บข้อมูล)

คืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆของระบบภายในองค์กร ความจุของ Server นั้น ขึ้นอยู่กับ ปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ

4. Connectivity (การเชื่อมต่อ)

การเชื่อมต่อระบบ Network ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ Server เช่นกัน ควรจะมีการกำหนดความต้องการการเชื่อมต่อให้เรียบร้อยแล้วจึงมาเลือกจัดสรร Spec ของตัวเครื่องอีกทีหนึ่ง อาทิเช่น จำนวน Ehernet Port, จำนวนและชนิด USB Port หรือ Storage-area Network เป็นต้น

ส่วนประกอบอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่สำคัญต่อตัวเครื่อง เช่น ความจุในการรองรับ Hot Swap, ระดับในการทำRedundancy ของส่วนประกอบต่างๆ คือ Hard Drive, Power Supply และ พัดลม เป็นต้น ในองค์กรใหญ่ๆ ระบบ Security ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เซิร์ฟเวอร์ขาดไม่ได้

ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่อง Server มีกี่ประเภท

ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่อง Server จะเป็น 3 ระบบปฏิบัติการ ได้แก่

1. Linux

สำหรับ Linux Distribution ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Debian, Ubuntu, Redhat และFedora เป็นต้น Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งมีนักพัฒนาอยู่ทั่วโลกร่วมกันพัฒนาด้วย

2. Windows

สำหรับ Windows ที่นิยมใช้เป็น server ได้แก่ Windows Server 2003 และ Windows Server 2008 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการจากไมโครซอฟท์ที่มีความเสถียรและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

3. Unix

สำหรับ Unix สำหรับระบบปฏิบัติการนี้เป็นระบบปฏิบัติการณ์ที่เก่าแก่ระบบหนึ่ง ที่ยังใช้งานอยู่จนถึงทุกวันนี้ ได้แก่ BSD

ระบบปฏิบัติการ server เซิร์ฟเวอร์
ระบบปฏิบัติการ server เซิร์ฟเวอร์

ประเภท การใช้งานเซิร์ฟเวอร์ Server

Server ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ให้บริการต่าง ๆ ในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต หรือโครงข่ายที่มีลูกข่าย เมื่อมีผู้ใช้งานมาขอใช้บริการ Server เครื่อง Server จะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่องเพื่อให้บริการในทันที ซึ่งบริการของ Server นั้นมีหลากหลายอย่างด้วยกัน โดยมีดังต่อไปนี้

  • Web Server

คือโปรแกรมที่มีหน้าที่ให้บริการด้านการจัดการเว็บไซต์ คล้ายกับ Internet Server ที่ทำหน้าในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตและควบคุมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย โดยส่วนมากโปรแกรมที่นิยมใช้เป็น Web server จะเป็น Apache web server

  • Database Server

คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านการจัดการดูแลข้อมูลต่างๆภายในเว็บไซต์ โปรแกรมที่มีการใช้งานส่วนใหญ่จะเป็น mysql, postgresql, DB2

  • Application Server

ทำหน้าที่ในการรันโปรแกรมประยุกต์ ให้มีความสอดคล้องกับผู้ใช้งาน

  • Mail Server

คือโปรแกรมที่มีหน้าที่ให้บริการด้าน E-mail ที่นิยมกันจะมีอยู่ 3 โปรแกรมคือ Postfix, qmail, courier เป็นต้น

  • Virtual Server

คือการจำลองคุณสมบัติของเซิร์ฟเวอร์ตัวจริงขึ้น ในคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง เพื่อให้สามารถทำงานได้เหมือน Server จริงทุกประการ ได้แก่ การใช้เป็นแหล่งในการเก็บข้อมูล, รันแอปพลิเคชัน, เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับการแชร์ไฟล์ เป็นต้น

  • File Server

มีหน้าที่ในการจัดเก็บไฟล์เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถที่จะนำไฟล์มาฝากไว้ใน File Server ได้

  • DNS Server

คือโปรแกรมที่มีหน้าที่ให้บริการด้านโดเมนเนมที่จะค่อยเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการให้เป็น IP Address โปรแกรมที่นิยมใช้คือ bind9

  • Print Server

มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครื่องปริ้นท์ให้สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรนั่นเอง ซึ่งส่วนมากจะมีใช้ในองค์กรขนาดใหญ่

  • Proxy Server

ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครื่อง Client และ Server หลัก เพื่อทำการแยกตัวเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องลูกออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย หน้าที่หลักคือทำหน้าที่รับ Request จากเครื่อง Client และส่งต่อไปยังระบบ

การใช้งาน server เซิร์ฟเวอร์
การใช้งาน server เซิร์ฟเวอร์

ประโยชน์ของเซิร์ฟเวอร์ Server

          จะเห็นได้ว่าหน้าที่หลักๆของเซิร์ฟเวอร์คือ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ค่อยทำหน้าที่คล้ายๆแบบ internet server  ซึ่งสามารถติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และบริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่เข้ามาขอใช้บริการ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ application server ของบริษัทแห่งหนึ่ง ในการจัดทำเรื่องบัญชี ก็ต้องใช้โปรแกรมที่จัดการเรื่องบัญชีได้มาช่วย โดยนำโปรแกรมไปติดตั้งไว้กับคอมพิวเตอร์ของพนักงาน 10 เครื่อง เมื่อพนักงานคีย์ข้อมูลเสร็จก็ส่งไฟล์ข้อมูลไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลในเครื่อง server นั่น ก็เท่ากับคอม 10 เครื่องใช้ฐานข้อมูลเดียวกันหมด พอนานวันไปข้อมูลก็มีปริมาณมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลา  

        นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญมากในระบบอินเตอร์เน็ตและในระบบเครือข่าย รวมทั้งการวางระบบserver ก็ทำได้หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ได้ตามหน้าที่และลักษณะงานประเภทนั้นๆ เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีที่สุดนั่นเอง 

          หากองค์กรของคุณกำลังต้องการผู้ดูแลระบบ เรายินดีให้บริการติดตั้ง รับวางระบบ network ไม่ว่าจะ ภายในองค์กร สำนักงาน หอพัก โรงแรม โรงงาน บ้านพัก ส่วนราชการ บริการรับติดตั้ง wifi ตามจุดต่างๆ ดำเนินการติดตั้งแบบครบวงจร ทั้งการเดินสายภายใน (LAN) การเชื่อมต่อระบบไร้สาย (Wifi) การตั้งค่าเครื่อง server รวมไปถึงบริการเดินสายอีกด้วย นอกจากนี้เรายังมีบริการตั้งค่าระบบ เพื่อไม่ให้เกิดสัญญาณรบกวนการทำงาน มีระบบจัดการ access point เพื่อควบคุมการใช้งานอย่างปลอดภัย เราบริการด้วยใจ ดูแลเอาใจใส่ลูกค้าโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในด้านการทำงานด้านเทคโนโลยี ดูแลระบบ IT และงานระบบเครือข่าย ภายในองค์กรของท่าน แบบครบวงจร 

ประโยชน์ของเซิร์ฟเวอร์ Server
ประโยชน์ของเซิร์ฟเวอร์ Server