สายแลน LAN (UTP) หรือ สายยูทีพี UTP Cable เป็นอุปกรณ์ที่แพร่หลายอย่างมากในการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ของข้อมูลดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นการทำงาน รับข่าวสาร รับชมสื่อต่างๆ ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้ตามบ้านเรือน ออฟฟิศสำนักงาน การเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งมีผลกับความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่างมาก
สายแลน LAN (UTP) คืออะไร
สาย LAN (UTP) หรืออีกในชื่อเต็มๆว่า Unshielded Twisted Pair เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายต่างๆ เช่น
- คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่มีตัวนำสัญญาณเป็นทองแดงสายบิดคู่ตีเกลียว (Twisted Pairs) โดยทั่วไปจะใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ Laptop เพื่อรับ-ส่งข้อมูลหรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลางด้วยเช่น Network Switch,,Router เป็นต้น
- ในส่วนของหัวเสียบสำหรับเชื่อมต่อสาย LAN จะมีชื่อเรียกว่า สายแลน rj45
- สายแลน Patch Cord โดยปกติแล้วสายแลนชนิดนี้มักจะนำมาใช้ในพื้นที่ที่ต้องหัก งอ หรือม้วน ความยาวจะอยู่ที่ 1-20 เมตร นิยมผลิตออกมาให้มีสีที่แตกต่างกันเพื่อให้จำแนกสีได้ง่าย
ความรู้จักประเภทแต่ละแบบของสายแลน LAN (UTP)
การแบ่งตามลักษณะในการติดตั้งของสาย LAN
ประเภทของสายแลนสำหรับติดตั้งภายในอาคาร (Indoor Cable)
สายสัญญาณที่ออกแบบมาเพื่อติดตั้งภายในอาคาร ลักษณะของสายแลนคือ ความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงและป้องกันการลามของไฟได้ดีส่วนของเปลือกนอกมักนิยมทำจากวัสดุ PVC นอกจากนี้จึงต้องมีการใส่สารพิเศษเข้าไป เพื่อให้แบ่งชนิดของสายภายในอาคารที่ใช้กันแพร่หลายรวม 4 ชนิด
1. Communication Metallic (CM)
สายสัญญาณที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการลามไฟในแนวราบ และสามารถเดินสายในชั้นเดียวกัน (Horizontal Wiring) เหมาะกับการใช้งานทั่วไป
2. Communication Metallic Riser (CMR)
สายสัญญาณที่นิยมใช้ในการเดินสายระหว่างชั้นในอาคารโดยผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร (Vertical Shaft) และสามารถป้องกันการลามของไฟทั้งแนวดิ่งและแนวราบได้ดี
3. Communication Metallic Plenum (CMP)
สายสัญญาณที่ออกแบบมาสำหรับเดินสายบริเวณช่องว่างตามฝ้าเพดาน แต่จะไม่สามารถป้องกันการลามของไฟจากแนวดิ่งได้
4. Low Smoke Zero Halogen (LSZH)
สายสัญญาณที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นมาจาก CMR ขึ้นมาก็คือเมื่อมีการไฟลามที่สายชนิดนี้ สายแลนชนิดนี้จะมีควันที่เกิดจากไฟน้อยทำให้ป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษไฟลามได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง
ประเภทของสายแลนสำหรับติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor Cable)
สายสัญญาณที่ทำมาเพื่อติดตั้งภายนอกตัวอาคารซึ่งมีคุณสมบัติที่ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมาก มีเปลือกนอกทำจากวัสดุ PE (Polyethylene) ไม่สึกกร่อนแต่จะไม่สามารถป้องกันการลามไฟได้จึงควรเลือกสายแลนภายนอกให้ถูกต้อง ตามชนิดของการใช้ให้เหมาะสมรูปแบบการใช้งานและสถานที่
การแบ่งตามลักษณะในการป้องกันสัญญาณรบกวน
Unshield Twisted Pair (UTP) : แบบไม่มีฉนวนสำหรับป้องกันสัญญาณที่จะมารบกวน
สายแลน LAN (UTP) ชนิดนี้ คืออะไร มันคือสาย นำสัญญาณที่มี 8 เส้น (รวม 4 คู่) เป็นทองแดงแท้นิยมใช้กับงานระบบคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป สายทองแดงคู่บิดตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน
Foil Twisted Pair (UTP) : แบบมีฉนวนสำหรับป้องกันสัญญาณที่จะมารบกวน
สายแลน LAN (UTP) ชนิดนี้ คืออะไร มันคือสายทองแดงคู่บิดตีเกลียวแบบมีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวนมักใช้งานในพื้นที่ที่มีสัญญาณรบกวน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น
การแบ่งตาม Bandwidth ที่สามารถรองรับสัญญาณได้
สายแลน Category 5E (CAT 5E) คืออะไร
คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ ซึ่งพัฒนาต่อมาจากสาย CAT 5 ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้การอินเทอร์เน็ตหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น เปิดเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพร้อมกับเปิด VDO ควบคู่ไปด้วยส่วนนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน และในส่วนของ Bandwidth ระยะห่างจะไม่เกิน 100 เมตร ที่ความเร็ว 100-200 MHz สูงสุด 1 Gbps
สายแลนCategory 6A (CAT 6A) คืออะไร
คือสาย LAN (UTP) ทองแดงเช่นกันที่มีความเร็วต่ำ แต่ก็ยังสามารถรับรอง Bandwidth ได้ถึงที่ 500 MHz สูงสุดถึง 10 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร
สายแลน Category 6 (CAT 6) คืออะไร
คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 250 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 55 เมตร
สายแลนCategory 7 (CAT 7) คืออะไร
คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth ที่ 600 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร
สายแลน Category 8 (CAT 8) คืออะไร
คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 2GHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 25/40 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 30 เมตร
ทำความรู้จักกับประโยชน์ของสายแลน LAN (UTP) มีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของสายแลนคือ หลักๆแล้วจะเป็นการทำให้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้การเชื่อมต่อเข้าหากันมีการเชื่อมต่อที่ต่อเนื่อง
1. แชร์ฮาร์ดแวร์กับอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ต่างๆได้
- อุปกรณ์สำหรับใช้งานในด้านการสื่อสารอย่าง Modem Router Gateway ที่จะต้องใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์
- อุปกรณ์สำหรับการเก็บหน่วยความจำต่างๆ ที่ใช้ร่วมกับสายแลนคือ Hard Disk,SSD
- การใช้ทำงานกับอุปกรณ์เครื่องพิมพ์ เช่น Printer แบบปกติหรือเลเซอร์ก็ได้สามารถใช้งานร่วมได้เช่นกัน
- การใช้เครื่องฉาย VDO โปรเจคเตอร์ที่ต้องใช้ในห้องประชุมในการนำเสนองาน นำมาเชื่อมการต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อส่งภาพไปที่เครื่องโปรเจคเตอร์
2. แชร์ซอฟต์แวร์กับอุปกร์หลายๆเครื่องในเวลาเดียวกันได้
สำหรับซอฟต์แวร์บางชนิดสามารถติดตั้งกับคอมพิวเตอร์จากเครื่องหนึ่งไปที่อีกเครื่องหนึ่งได้ และจะสามารถดึงโปรแกรมจากตัวคอมพิวเตอร์อีกเครื่องได้ นอกจากนี้ยังสามารถสั่งพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งไว้ในระบบได้ทันที
3. สามารถแชร์ข้อมูลต่างๆได้
ในการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะในสายงานไหนที่ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์จะต้องมีการแชร์ข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่งซึ่งสายแลนก็จะเข้ามามีบทบาทสำหรับการแชร์ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ภายในที่ทำงานได้ทันทีอีกด้วย
สรุป
โดยสรุปแล้ว สายแลนคือ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็คือ Category 5E (CAT 5E) เพราะมีราคาที่ค่อนข้างถูกจับต้องได้ง่าย จนปัจจุบันสาย Category 6 (CAT 6) และ Category 6A (CAT 6A) ที่ราคาไม่ได้สูงกว่า Category 5E (CAT 5E) มากเท่าไหร่ก็เริ่มได้รับความนิยมขึ้นมาเรื่อยๆ ในส่วนนี้สามารถเลือกให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานได้เลย