Smoke Detector รับติดตั้งเครื่องตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับควัน โดย ทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ
ไฟไหม้เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่เลวร้าย ที่มักจะสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้มากมาย เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว smoke detector คืออีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จะช่วยลดความเสี่ยง รวมถึงป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน smoke detector จึงเป็นอุปกรณ์ป้องกันภัยประจำบ้านและสถานที่ต่าง ๆ ที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
หากท่านเป็นหนึ่งในผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับ smoke detector หรือเครื่องตรวจจับควันแต่ไม่รู้ว่าจะต้องเลือกแบบไหนจึงจะเหมาะสม รวมถึงมีความกังวลเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง และการ ติด ตั้ง smoke detector Personet เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการรับติดตั้ง smoke detector ราคาย่อมเยา ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และความปลอดภัยของลูกค้ามากที่สุด
Smoke Detector คืออะไร
สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่า smoke detector หมายถึงอะไร smoke detector เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบรักษาความปลอดภัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเครื่องตรวจจับควัน การทํางานผ่านการตรวจจับควันไฟและคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อควันลอยขึ้นไปกระทบกับตัวเครื่อง จะทำให้เกิดการส่งสัญญาณแจ้งเตือนเหตุทันที
หลาย ๆ ท่านอาจจะเกิดความสับสนระหว่าง smoke detector และ smoke alarm เนื่องจากอุปกรณ์ทั้งสองชนิดมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกัน แต่ในความจริงแล้วอุปกรณ์นี้กลับมีข้อแตกต่างอยู่บ้าง ได้แก่
- smoke detector เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันที่มีการทำงานร่วมกับระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Alarm System) เหมาะสำหรับการติดตั้งในอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป
- smoke alarm เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันที่มีสัญญาณเตือนภัยในตัว เหมาะสำหรับการติดตั้งในบ้านหรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น
เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) ช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของคุณได้อย่างไร
จะเห็นได้ว่าการติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ตรวจจับควัน smoke detector หรือ smoke alarm ต่างก็มีประโยชน์เป็นอย่างมาก U.S. Fire Association ได้ทำการแนะนำให้ผู้คนหันมาทำการติดตั้ง smoke detector กันมากขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์มากมาย เช่น
- ช่วยให้คุณ คนที่คุณรัก และสัตว์เลี้ยงของคุณปลอดภัยยิ่งขึ้น : เนื่องจากไฟไหม้เป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ การติดตั้งที่มีมาตรฐานและการ ต่อ smoke detectorที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่จะได้รับการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็น การบาดเจ็บ หรือแม้แต่การเสียชีวิตในกองไฟได้เป็นอย่างดี
- มีการทำงานอยู่ตลอดเวลา : smoke detector มีการทำงานในการตรวจจับควันไฟอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความรู้สึกปลอดภัยจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย
- ลดความเสียหายต่อทรัพย์สินได้ : เครื่องตรวจจับควันไฟ หรือ smoke detector จะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อทรัพย์สิน และข้อมูลสำคัญของคุณได้เป็นอย่างดี ผ่านการตอบสนองทันทีเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ทำให้สามารถดับไฟก่อนที่จะเกิดการลุกลามจนเกิดความเสียหายตามมาได้
เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) มีกี่ประเภท และทำงานอย่างไร
โดยทั่วไป smoke detector สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ชนิดไอโอไนเซชัน และชนิดโฟโตอิเล็กทริก ซึ่งมีการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้
อุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดไอโอไนเซชั่น (Smoke Detector Ionization Type)
Smoke Detector Ionization ภายในเครื่องตรวจจับควันนี้จะเป็นกล่อง (Chamber) ทำหน้าที่กระตุ้นอากาศภายในให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน โดยไอออนจะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่จะทำปฏิกิริยากับควันไฟ เมื่อปริมาณควันถึงค่าที่กำหนดไว้ระบบจะทำงานทันที
ข้อดีของเครื่องประเภทนี้ คือ สามารถตรวจจับควันที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ที่เกิดจากการเผาไหม้อย่างหมดจดได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน คือ ตรวจจับควันที่มีอนุภาคขนาดใหญ่และหนาทึบได้ไม่ดีเท่าชนิดโฟโตอิเล็กตริก เพื่อป้องกันการทำงานผิดพลาดจากความชื้น และความกดอากาศจึงมีการพัฒนาให้ใช้ระบบไอโอไนเซชันแบบกล่องคู่ขึ้น
อุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดโฟโตอิเล็กทริก (Smoke Detector Photoelectric Type)
photoelectric smoke detector มีหลักการทำงานสองรูปแบบ คือ แบบหักเหของแสง และแบบใช้ควันกีดขวางแสง
- แบบหักเหของแสง (Light Scattering) ทำงานโดยใช้หลักการการหักเหของแสง เมื่ออนุภาคควันลอยตัวขึ้นและเข้ามาใน Smoke Detector จะเกิดการหักเหแสงไปที่ตัวรับแสงในเครื่องจนถึงระดับที่กำหนดไว้ จากนั้นระบบก็จะเริ่มทำงานต่อไป
- แบบควันกีดขวางแสง (Light Obscuration) ทำงานโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงยิงเข้าไปที่ตัวรับแสง เมื่อมีอนุภาคควันไฟเข้ามาในตัวเครื่องในปริมาณหนึ่งจะทำให้ลำแสงโดนกีดขวาง แสงที่ส่องเข้าตัวรับจะมีค่าต่ำลงเรื่อย ๆ จนระบบทำงาน
ข้อดีของอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดนี้ คือ เหมาะสำหรับการตรวจจับควันที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 ไมครอนขึ้นไป ซึ่งเป็นควันที่เกิดจากการสันดาปไม่สมบูรณ์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ในที่อับอากาศ โดยมากในที่อับอากาศมักจะใช้ duct smoke detector หรืออุปกรณ์ตรวจจับควันแบบใช้ในท่อลม เป็นต้น
การออกแบบ และ ติดตั้งเครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector)
การออกแบบเครื่องตรวจจับควันเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะต้องพิจารณาตำแหน่งที่มีโอกาสเกิดเพลิงไหม้ การเคลื่อนตัวของควัน รวมถึงการเบี่ยงเบนของควันจากทิศทางลม เป็นต้น นอกจากนี้วิธี ติด ตั้ง smoke detector ที่เหมาะสม จะต้องติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถตรวจจับควันได้สะดวก และไม่ถูกกีดขวาง โดยจะต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยต่าง ๆ ร่วมด้วย
นอกจากการติดตั้งแล้ว การทดสอบการต่อวงจร smoke detector ก็เป็นอีกหนึ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นการตรวจสอบว่าไม่ได้ปิด smoke detector อยู่ และเช็คว่าระบบมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ สามารถทำได้โดยใช้ smoke detector testers แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่เชี่ยวชาญการเข้ารับบริการจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นทางเลือกที่ดีเป็นอย่างยิ่ง
วิธีเลือก Smoke Detector
อีกหนึ่งปัจจัยที่จะต้องพิจารณาเมื่อเลือก Smoke Detector นั่นก็คือ ประเภทของเซนเซอร์ตรวจจับควัน ซึ่งเซนเซอร์ตรวจจับควันมีหลักการทำงานที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
Smoke Detector Photoelectric Type
เป็นเซนเซอร์ตรวจจับควันของ Smoke Detector ที่มีหลักการทำงานจากการกีดขวางแสง จุดเด่นของระบบนี้คือ เซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับอนุภาคควันไฟได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อจำกัดในด้านสถานที่ติดตั้ง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดได้ง่าย
Smoke Detector Ionization Type
เป็นเซนเซอร์ตรวจจับควันที่นำสื่อกระแสไฟฟ้ามาใช้ประกอบ เมื่ออนุภาคควันไฟเข้าไปจะทำให้ค่าการนำไฟฟ้าลดลง และส่งสัญญาณเตือนควันต่อไป เซนเซอร์ตรวจจับควันชนิดนี้มีข้อดีคือ สามารถตรวจจับควันไฟได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่เหมาะที่จะนำไปติดตั้งในพื้นที่ที่มีไอน้ำหรือเกิดควันภายในห้อง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว เนื่องจากอาจมีการทำงานที่ผิดพลาดได้
Hardwired Smoke Detectors (เครื่องตรวจจับควัน มีสาย)
เซนเซอร์ตรวจจับควันแบบมีสายของ Smoke Detector จะต้องเชื่อมต่อสายไฟซึ่งควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญทำการติดตั้ง ข้อดีของเซนเซอร์ประเภทนี้คือ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ๆ เนื่องจากไม่ได้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก อีกทั้งหากเกิดเหตุขัดข้องที่ทำให้ใช้งานไฟฟ้าไม่ได้ อุปกรณ์ก็ยังสามารถใช้งานได้ผ่านการสลับการรับพลังงานจากแบตเตอรี่โดยตรง
Wireless Smoke Detectors (เครื่องตรวจจับควันไร้สาย)
เซนเซอร์เครื่องตรวจจับควัน ไร้สายมีการรับพลังงานจากแบตเตอรี่โดยตรง ทำให้มีจุดเด่นจากการติดตั้งได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับสายไฟ ช่วยให้เครื่อง Smoke Detector สามารถทำงานได้ตลอดเวลาในทุกสถานการณ์ในปัจจุบันเซนเซอร์เครื่องตรวจจับควันไร้สายบางรุ่นยังมีการพัฒนาให้สามารถได้ใช้งานได้กับสมาร์ตโฟนได้
เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) ยอดนิยม
Google Nest Protect (2nd Gen) ตรวจจับควันและ
คาร์บอน ป้องกันไฟไหม้
smoke detector จาก Nest Protect โดดเด่นจากการมีเซ็นเซอร์ Split-Spectrum ที่สามารถตรวจสอบระดับไฟไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีฟังก์ชันการทำงานที่ครบครัน เช่น แจ้งเตือนทันทีเมื่อเกิดเหตุ พร้อมบอกสถานที่เกิดเหตุ การตรวจสอบตนเอง หรือการส่องสว่างตอนกลางคืน รวมถึงมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี
ประเภทของเซนเซอร์ : โฟโตอิเล็กทริก
ประเภทแหล่งจ่ายพลังงาน : ถ่าน AA
ระดับเสียงเตือน : 85 เดซิเบล
เครื่องตรวจจับควัน Xiaomi Honeywell Smoke Alarm Detector
xiaomi smoke detector รุ่น Honeywell เป็นเครื่องตรวจจับควันที่มีฟังก์ชันการทำงานที่ทันสมัย ที่สามารถควบคุมการทำงาน และสามารถตั้งค่าเงื่อนไขการทำงานผ่านทางสมาร์ตโฟนได้ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบการทำงานของเซนเซอร์ตรวจจับควันเดือนละ 1 ครั้ง ด้วยตัวเองได้อีกด้วย
ประเภทของเซนเซอร์ : โฟโตอิเล็กทริก
ประเภทแหล่งจ่ายพลังงาน : ถ่าน CR123A
ระดับเสียงเตือน : 80 เดซิเบล
เครื่องตรวจจับควันแบบไร้สาย KERUI
smoke detector ไร้สายจาก KERUI สามารถปรับความไวในการตรวจจับควันไฟได้ตามความต้องการ ผ่านการใช้ไขควงปรับแก้ได้ มีการออกแบบไฟ LED ปุ่มทดสอบเสียงสัญญาณและช่องส่งเสียงเตือนให้ปรากฏอยู่บนอุปกรณ์ หากต้องการใช้งานบนสมาร์ตโฟนจะต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม
ประเภทของเซนเซอร์ : โฟโตอิเล็กทริก
ประเภทแหล่งจ่ายพลังงาน : แบตเตอรี่
ระดับเสียงเตือน : 80 เดซิเบล
เครื่องตรวจจับควัน X-Sense
smoke detector แบบไร้สายจาก X-Sense มีการตรวจสอบควันไฟและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันยังช่วยลดสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดได้เป็นอย่างดี มีทดสอบการเตือนภัยทุกสัปดาห์ อีกทั้งยังใช้งานง่าย และสามารถปิดเสียงเตือนที่ผิดพลาดได้
ประเภทของเซนเซอร์ : โฟโตอิเล็กทริก
ประเภทแหล่งจ่ายพลังงาน : แบตเตอรี่
ระดับเสียงเตือน : 85 เดซิเบล
เครื่องตรวจจับควัน FireHawk Safety Products Smoke Detector
Smoke Detector จาก FireHawk โดดเด่นไม่เหมือนใครจากซอฟต์แวร์สั่งทำพิเศษ TSE-Technology ช่วยให้การทำงานมีความเสถียรในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ อีกทั้งยังติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว และมีฟังก์ชันการใช้งาน ที่ช่วยความสะดวกได้เป็นอย่างดี
ประเภทของเซนเซอร์ : โฟโตอิเล็กทริก
ประเภทแหล่งจ่ายพลังงาน : ถ่าน AAA
ระดับเสียงเตือน : 85 เดซิเบล
วิธีดูแลรักษา Smoke Detector
วิธีดูแลรักษา Smoke Detector ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง แบ่งออกได้ดังนี้
- ตรวจสอบอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของ Smoke Detector
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ด้วยแปรงปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม
- ตรวจสอบรอยคราบสกปรกที่ติดอยู่บริเวณเซนเซอร์ตรวจจับควัน
- ตรวจสอบการยึดเกาะระหว่าง Smoke Detector กับเพดาน
- ตรวจสอบถ่านหรือแบตเตอรี่จากการตรวจเช็กดูดวงไฟ (LED)
- ทดสอบการทำงานระบบ Smoke Detector ด้วยการใช้สเปรย์ควันเทียม
คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับ Smoke Detector
Fire Alarm, Smoke Detector กับ Heat Detector ต่างกันอย่างไร
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) เป็นระบบที่ติดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ผ่านการแจ้งเตือน โดยระบบนี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้หลากหลายชนิด ที่จะมีการทำงานร่วมกันเพื่อให้การเตือนภัยเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับผู้ที่สงสัยว่า smoke detector กับ heat detector ต่างกันอย่างไร แม้ว่า smoke heat detector จะเป็นอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ที่มีหน้าที่คล้ายคลึงกัน แต่กลับมีหลักการทำงานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน Smoke Detector เป็นเครื่องดักจับควัน และ Heat Detector เป็นเครื่องดักจับความร้อน โดยเครื่องดักจับควันจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า จึงนิยมใช้ในพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ควรติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันที่บริเวณไหน
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ หรือ Smoke Detector ควรติดตั้งกระจายอยู่ทั่วทั้งบริเวณบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ภายในห้องนอน บริเวณทางเดิน พื้นที่ส่วนกลาง รวมถึงชั้นใต้ดิน เพื่อให้การตรวจจับควันเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
Smoke Detector แบบไหนเหมาะกับการติดในห้องครัว
Smoke Detector แบบตาแมว (Photoelectric Type) ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับการตรวจจับอนุภาคควันไฟขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี เครื่องตรวจจับควันไฟชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับใช้ในห้องครัว เนื่องจากจะไม่เกิดสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดจากการปรุงอาหารขึ้น
ควรติดตั้งเครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) กี่ตัว
การติดตั้งเครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) ควรติดตั้งอย่างน้อยชั้นละ 1 ตัว จากผลการวิจัยได้มีการแนะนำให้ติดตั้งในบริเวณห้องนอน และพื้นที่ใช้สอยส่วนต่าง ๆ อย่างครอบคลุม รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการติดอุปกรณ์ในบริเวณที่เกิดควันและบริเวณที่มีความชื้น เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ เป็นต้น
Smoke Detector มีอายุการใช้งานกี่ปี
Smoke Detector ที่พบได้โดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานที่จำกัด สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติระบุไว้ว่าควรที่จะเปลี่ยนเครื่องตรวจจับควันทุก ๆ 10 ปี รวมถึงควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก ๆ 6 เดือน และหมั่นตรวจเช็กการทำงานของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เครื่องมีประสิทธิภาพดีอยู่ตลอด