บริการรับเข้าหัว Fiber Optic สไปรท์สายไฟเบอร์ออฟติก SPLICE พร้อมทดสอบ ราคาถูก
บริการรับ สไปสายไฟเบอร์ ( เชื่อมต่อสายไฟเบอร์ ) Splice สาย Fiber optic ใยแก้วนำแสง ต่อสายไฟเบอร์ออฟติก รับเข้าหัวสาย Fiber ด้วยเครื่อง Fujikura 12s และ Link UF-2842A โดยทีมงานมืออาชีพ รวมถึง รับทดสอบ สายไฟเบอร์ออฟติก OTDR Report Fiber ออก Report สาย Fiber
จำนวน | ราคา |
---|---|
1-50 Core พร้อมทดสอบ Report | 250 บาท/Core |
50 Core ขึ้นไป พร้อมทดสอบ Report | 200 บาท/Core |
100 Core ขึ้นไป พร้อมทดสอบ Report | โทรสอบถามราคาพิเศษ |
ในปัจจุบันนี้สาย Fiber Optic เข้ามามีบทบาทอย่างมากในยุคปัจจุบัน ซึ่งสามารถทำงานได้ดีกว่า การเชื่อมต่อแบบ ADSL หรืออีกในชื่อหนึ่งที่เรารู้จักกันคือ การเชื่อมต่อผ่านสายเน็ตโทรศัพท์ ฉะนั้นทาง Personet เราจึงรับเข้าหัว Fiber Optic ต่อสายไฟเบอร์ออฟติก ที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมาก เราจึงเริ่มเปิดบริการรับสไปรท์สายไฟเบอร์ (Splice) เข้าหัวไฟเบอร์ออฟติกราคาถูก สาย Fiber Optic ใยแก้วนำแสง และบริการรับเข้าหัวสาย Fiber Optic ด้วยเครื่องมืออย่าง Fujikura 12s และ Link UF-2842A โดยกลุ่มทีมงานมืออาชีพรวมไปถึงรับทดสอบสาย Fiber Optic OTDR Report Fiber ให้อย่างละเอียดและออก Report สำหรับสาย Fiber ให้ทุกครั้งที่ทำการทดสอบเสร็จ รวมถึงค่าสไปร์สายไฟเบอร์ราคาถูก สามารถติดต่อได้ที่
ลูกค้าของเรา
การเข้าหัว fiber optic ต่อสายไฟเบอร์ออฟติก ในแต่ละรูปแบบ
การเข้าหัว fiber optic แบบใช้มือในการเข้าหัวนั้นในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้วเรื่องจากใช้เวลานาน และความแม่นยำในการเข้าน้อย จึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของช่างแต่ละคน ที่อาจทำให้เสียบ่อยทำให้ต้องมีการเปลี่ยนหัวบ่อยครั้ง ดังนั้น การเข้าหัวโดยสายสำเร็จ (Pigtail) มาเชื่อมต่อโดยใช้เครื่อง Fusion Splice แทน ซึ่งการเข้าแบบ Splice มักจะมีราคาในการบริการค่อนข้างสูงอย่างมาก แต่ในปัจจุบันราคาต่ำลงมาจนสามารถจับต้องได้ง่ายแล้วกลุ่มลูกค้าและผู้รับเหมาส่วนใหญ่ จึงเริ่มหันมาใช้บริการในการเข้าหัวด้วยเครื่อง Fusion Splicer ที่สามารถทำให้การทำงานเสร็จได้ไวขึ้นและมีความเร็วค่อนข้างสูง ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน
หลักในการเชื่อมต่อสายด้วยเครื่อง Splicer หรือเรียกอีกอย่างคือการ Fusion splice Fiber optic cable มีรายละเอียดยังไงการเข้าหัวไฟเบอร์ออฟติกราคาเท่าไหร่ และสามารถใช้กับที่ไหนได้บ้างเรามาดูกัน
การสไปร์สายไฟเบอร์ออฟติก (การเข้าหัวไฟเบอร์ออฟติก) คือ การเชื่อมสายที่ขาดหรือหักเข้าหากัน เพื่อทำให้เป็นเนื้อเดียวกันมากที่สุดด้วยเครื่องเข้าหัวไฟเบอร์ออฟติก fiber optic หรือก็คือการ Fusion splice Fiber optic cable เพื่อให้การรับ-ส่งสัญญาณแสงสามารถวิ่งผ่านได้เร็วและดีที่สุด โดยที่มีค่าการสูญเสีย (Insertion Loss) น้อยที่สุด จากรับ-ส่งสัญญาณในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) หรือระบบ (Applications) ไหนที่ต้องส่งสัญญาณผ่านสายไฟเบอร์ออฟติก เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสาร
อุปกรณ์ที่ควรใช้สำหรับงานเข้าหัวสายไฟเบอร์ออฟติก ต่อสายไฟเบอร์ออฟติก
Patch Cord เข้าหัว Fiber Optic (Fusion Slicer)
สายแบบ Patch Cord หรือก็คือสาย Fiber Optic สำเร็จ ที่มีการเข้าหัวเรียบร้อยแล้ว และพร้อมใช้งานตามบ้านหรือสถานที่ต่างๆที่เราคุ้นเคย โดยสาย Fiber Optic (Patch Cord) จะเป็นสายแบบ FC to LC ซึ่งจะเรียกว่าแบบ Duplex หมายถึงฝั่งนึงเป็น FC และอีกฝั่งนึงเป็น LC และต้องมีสองเส้นคู่กัน แต่ถ้าต้องการเส้นเดียวจะเรียกว่า Simplex
Pigtail เข้าหัว Fiber Optic (Fusion Slicer)
สายแบบ Pigtail เป็นสายที่เข้าหัวมาแค่ด้านเดียวส่วนอีกด้านเป็นสายเปล่า สายพวกนี้จะไม่เหมาะสำหรับงานเชื่อม Splice สาย Fiber Optic ซึ่งจะมี Jacket แบบ 3.0 mm และ 900 µm ซึ่งตัวสาย Pigtail Jacket แบบ 3 mm. จะเน้นเรื่องของความแข็งแรง และในส่วนของ Pigtail Jacket 900 µm จะเน้นเรื่องยืดหยุ่น สายโค้งงอได้ดี และประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง
Patch Panel เข้าหัว Fiber Optic (Fusion Slicer)
Patch Panel คือกล่องที่ออกแบบมาเพื่อเก็บรอยต่อสำหรับปลายสาย ซึ่งตัวของ Patch Panel จะเก็บรอยต่อให้แข็งแรงทนทานมากกว่าการที่ไม่ได้เก็บรอยต่อของปลายสาย และมีความเป็นระเบียบสวยงาม
Enclosure เข้าหัว Fiber Optic (Fusion Slicer)
Enclosure คือกล่องสีดำที่เรามักจะเห็นห้อยอยู่ตามเสาไฟฟ้าโดยออกแบบมาสำหรับต่อสาย Fiber Optic จำพวกสาย Outdoor และสาย Outdoor เหมาะกับการใช้งานที่นอกสถานที่
ODF เข้าหัว Fiber Optic (Fusion Slicer)
ODF คือตู้สำหรับเก็บสาย Fiber Optic เช่นเดียวกันกับ Patch Panel แต่ตู้ ODF จะถูกออกแบบมาเพื่อติดกับผนังสามารถป้องกันแดดและฝนได้พอประมาณ ส่วนมากเราจะสามารถพบได้ตามเสาโทรศัพท์ทั่วไปตามท้องที่
ประเภทของการเชื่อมต่อ Fiber Optic
การต่อสายไฟเบอร์ออฟติก หลักๆแล้วมี 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่
การเชื่อมต่อแบบฝน (Fiber Optic)
การเชื่อมต่อแบบฝน หรือก็คือ การเข้าหัวด้วยมือนั้นอาจไม่ได้เป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้แล้วเนื่องจาก ใช้เวลาค่อนข้างนาน จึงขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่างแต่ละคนที่รับหน้าที่ในการเข้าหัวไฟเบอร์ ที่อาจทำให้เกิดการเสียบ่อยครั้ง การเชื่อมต่อแบบมีกล่องสำหรับการพักสาย (Wall Mount) ซึ่งเอาไว้เชื่อมต่อระหว่างสายไฟเบอร์เส้นหลักและสาย Patch Cord ซึ่งมี Blank adapter snap plate (BASP) เป็นจุดเชื่อมต่อหลัก และยังสามารถใช้เครื่องมือต่อเข้ากับหัว Coupling ได้ด้วย หัวต่อ กาว กระดาษทราย เช่นกัน
การเชื่อมต่อแบบหลอม (Splice)
การเชื่อมต่อแบบหลอม (Splice) จะเป็นการเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมสายทั้ง 2 เส้นเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องใช้เครื่องมือ Fusion Splicer สามารถทำให้การทำงานเสร็จได้ไวมากขึ้นเพราะมีความเร็วสูง เพราะความเร็วที่ทำได้นี้จึงทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ในปัจจุบันนี้มีราคาที่ต่ำลงมามากจนสามารถจับต้องได้ง่ายขึ้นแล้ว ซึ่งเหมาะกับการทำงานที่ต้องใช้ความเร็วสูงที่ 1 Gbps ขึ้นไป
บริษัท เพอโซเน็ท จำกัด ให้บริการ ติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก ต่อสายไฟเบอร์ออฟติก ติดตั้งกล้องวงจรปิด เดินสายแลน ติดตั้งระบบ network ทดสอบสายแลน
สนใจติดต่อ โทร : 081-839-0789 E-mail : [email protected]
วิธีการอ่านค่าผลทดสอบสายใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable)
ค่าต่างๆที่อ่านได้ในผลทดสอบ
- ค่า A-B Distance คือ ค่าความยาวของสายใยแก้วนำแสงที่ทำการวัดได้จากการติดตั้ง หน่วยเป็น เมตร (m)
- ค่า A-B Loss คือ ค่าการลดทอนสัญญาณของสายใยแก้วนำแสงที่ทำการวัดได้จากการติดตั้ง หน่วยเป็น เดซิเบล (dB)
หมายเหตุ
• ตามมาตรฐาน ANSI/TIA-568-C.3 Cable Loss ของสายใยแก้วนำแสง ชนิด Single mode จะมีค่าประมาณ 0.0005dB/m (1310nm) และ 0.0005dB/m (1550nm) ส่วนสายใยแก้วนำแสง ชนิด Multimode จะมีค่าประมาณ 0.0035dB/m (850nm) และ 0.0015dB/m (1300nm)
• ตามมาตรฐาน ANSI/TIA-568-C.3 Connector Loss ของในแต่ละหัวต่อจะมีค่าไม่เกิน 0.75 dB
• ตามมาตรฐาน ANSI/TIA-568-C.3 Splice Loss ของในแต่ละจุดเชื่อมต่อจะมีค่าไม่เกิน 0.3 dB
สูตรที่ใช้ในการคำนวณ Channel Loss = (Cable Loss x Length) + (Connector Loss x Point) + (Splice Loss x Point)
วิธีการคำนวณค่า Channel Loss
- นำค่า Cable Loss ของสายใยแก้วนำแสงแต่ละชนิด (dB/m) x ค่า A-B Distance ของสายใยแก้วนำแสง (m)
- นำค่า Connector Loss (dB) x จำนวนจุด
- นำค่า Splice Loss (dB) x จำนวนจุด
- นำค่าที่ได้ใน ข้อที่ 1 + ข้อที่ 2 + ข้อที่3
ดังนั้นจะได้ค่า Channel Loss ที่ได้จากการคำนวณ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่า A-B Loss ที่วัดได้จากเครื่อง OTDR
ตัวอย่างที่ 1 การคำนวณค่า Channel Loss ของสายใยแก้วนำแสงชนิด Multimode ที่ความยาวคลื่น 850nm ความยาวสาย 200 m มีจุดต่อ Connector 2 จุด โดยไม่มีจุดต่อแบบ Splice
1. (Cable Loss@850nm x Length(m)) = (0.0035 dB/m x 200 m) = 0.70 dB
2. (Connector Loss x Point) = (0.75 dB x 2 Point) = 1.5 dB
3. (Splice Loss x Point) = (0.3 dB x 0 Point) = 0 dB
เพราะฉะนั้น Channel Loss = ( 0.70 dB + 0 dB+ 1.5 dB ) = 2.2 dB
ตัวอย่างที่ 2 การคำนวณค่า Channel Loss ของสายใยแก้วนำแสงชนิด Single mode ที่ความยาวคลื่น 1310nm ความยาวสาย 1.2 km. มีจุดต่อ Connector 2 จุด และ จุดต่อแบบ Splice 2 จุด
1. (Cable Loss@1310nm x Length(m)) = (0.0005dB/m x 1200 m) = 0.6 dB
2. (Connector Loss x Point) = (0.75 dB x 2 Point) = 1.5 dB
3. (Splice Loss x Point) = (0.3 dB x 2 Point) = 0.6 dB
เพราะฉะนั้น Channel Loss = (0.6 dB + 1.5 dB + 0.6dB) = 2.7 dB
* ดังนั้น ค่า A-B Loss ที่อ่านได้จาก OTDR จะต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่า Channel Loss ที่คำนวณได้ จึงจะถือว่าผ่านตามมาตรฐาน
การดูรูปกราฟ
1. กราฟปกติ ที่ไม่มีจุดต่อสาย
2. กราฟปกติ ที่มีจุดต่อด้วย หัว Connector
3. กราฟปกติ ที่มีจุดต่อด้วยวิธีการ Splice
บริการด้วยทีมวิศวะกรเเละช่างผู้เชี่ยวชาญกว่า 10 ปี
Personet ผู้ให้บริการ รับติดตั้งเเละเดินสายไฟเบอร์ออฟติก ต่อสายไฟเบอร์ออฟติก รับเหมางานเดินสาย Fiber optic ติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก รับเข้าหัว splice fiber optic งานเกี่ยวกับ fiber optic ทุกรูปแบบ บริการที่ดีที่สุด อันดับหนึ่งในวงการ
พื้นที่ให้บริการ
เราให้บริการ ทั่วประเทศ ทุกที่ ทุกเขต ในกรุงเทพฯ ทุกภูมิภาค ทุกจังหวัด เราไปหมด
สอบถามรายละเอียด บริการ SPLICE ทดสอบ เข้าหัวสาย FIBER OPTIC
- โทร : 081-839-0789
- Email : [email protected]
- Line@ : @PERSONET
- Inbox : m.me/personetthailand