ตู้ ODF มักจะถูกนำไปติดตั้งอยู่ตามเสาไฟ หรือตามอาคารต่างๆ มีหลายคนสงสัยว่า odf คืออะไร odf มีกี่ประเภท มีอุปกรณ์อะไรบ้างที่อยู่ภายใน odf หากคุณกำลังสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับ odf บทความนี้จะนำพาคุณไปทำความรู้จักกัน
ODF (Optical Distribution Frame) คืออะไร?
odf (Optical Distribution Frame) คือ อุปกรณ์สำหรับจัดเก็บสายไฟเบอร์ออฟติก Pigtail, Patch Cord เป็นจุดเชื่อมต่อของสายไฟเบอร์ออฟติก ส่วนใหญ่จะติดตั้งเข้ากับตู้แร็คขนาดมาตรฐานทั่วไป ซึ่งตัวถาด odf นี้จะมีช่องสำหรับใส่ตัวต่อหรือ Adapter เพื่อรองรับการเชื่อมต่อไปใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สาย Patch Cord เป็นสายเชื่อมต่อออกมาอีกที ตู้ ODF สามารถใช้ป้องกันความเสียหายจากการเชื่อมต่อของ fiber optic เพราะว่าภายในตู้จะมีกล่องต่อสายไฟเบอร์ ที่เราใช้เชื่อมต่อสายเคเบิลและอุปกรณ์อื่นๆ การติดตั้งใช้งาน odf ก็มีหลายรูปแบบตามความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกัน
ตู้ ODF มีกี่ประเภทของ
เราได้ทำความรู้จักกันเบื้องต้นแล้วว่าตู้ ODF คืออะไร ต่อมาเรามารู้จักกับประเภทของ odf ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
ตู้ ODF ยึดติดผนัง
ตู้ ODF ยึดติดผนัง จะมีลักษณะภายนอก เหมือนกล่องเล็ก ๆ สามารถนำไปติดตั้งบนผนังได้ เหมาะกับการกระจายไฟเบอร์ที่ไม่มากนัก
ตู้ ODF วางพื้น
ตู้ ODF วางพื้น จะใช้โครงสร้างแบบปิด (ปิดฝาได้ หรือเป็นฝาทึบ) ถูกออกแบบมาสำหรับความจุไฟเบอร์ที่ค่อนข้างคงที่ แข็งแรง
ตู้ ODF ติดตั้งบนชั้นวาง
ตู้ ODF ออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่มั่นคง สามารถติดตั้งบนชั้นวางได้ และมีความยืดหยุ่นของจำนวนจุดต่อ และข้อกำหนดของสาย fiber optic ต่างๆ ที่แบ่งประเภทกัน
อุปกรณ์สำคัญใน ODF Rack Mount
Adapter Fiber optic
คือข้อต่อกลาง ตัวเมีย ของสายไฟเบอร์ออพติก จะมีด้วยกันหลายชนิด ดังนี้ ST/SC/FC/LC สิ่งที่เราจะต้องทราบก่อนติดตั้งก็คือ ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เราจะเชื่อมต่อว่าเป็นชนิดไหน ถึงจะสามารถเลือกใช้ชนิดของ Adapter ได้อย่างเหมาะสม
Splice Tray
คือ อุปกรณ์จัดเก็บ รอยต่อของสายไฟเบอร์ออพติก ยึดติดกับตัวถาด ODF หลังจากการใช้เครื่องเชื่อมสายแล้ว(Fusion Splicer) เพื่อความปลอดภัยไม่ก่อความเสียหาย เมื่อทำการเชื่อมต่อแล้วนั้นเอง
สาย Fiber optic หรือสายไฟเบอร์ออพติก
Fiber Obtic คือสายนำสัญญาณข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถเดินสายได้ไกลหลายกิโลเมตรและรองรับความเร็วสูง โดยมีค่าสูญเสียของสัญญาณที่ต่ำ หลายอาจสงสัยว่า สาย fiber optic มีกี่ประเภท ซึ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน
มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
- สาย Fiber optic ประเภท Tight buffer
- สาย Fiber optic ประเภท Loose Tube
- สาย Fiber optic ประเภท Indoor/Outdoor
สายไฟเบอร์ออฟติก ข้อดี ข้อเสีย มีอะไรบ้าง
ข้อดี
- สายใยแก้วนำแสง สามารถบรรจุข้อมูล และส่งข้อมูลได้มากกว่า
- สายไฟเบอร์ออปติกมีลักษณะเส้นเล็ก น้ำหนักเบามาก
- ระยะเวลาในการใช้งานนาน ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาบ่อย
ข้อเสีย
- หากมีแรงมากระทำกับสาย fiber optic จะทำให้เกิดการแตกหัก ชำรุดได้ง่าย
- สายโค้งงอได้น้อยกว่าสายทองแดง
- การติดตั้งหรือการเดินสายไฟเบอร์ออฟติก จะต้องใช้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์
การต่อสายไฟเบอร์ออพติกเข้ากับ odf rack mount นั้น สายไฟเบอร์ออพติกจะมีหัวคอนเน็คเตอร์ด้านเดียว เพื่อที่จะสามารถนำไปเชื่อมต่อกับสายภายนอกที่เราดึงเข้ามาในตู้
ผู้ติดตั้งจะใช้เครื่องเชื่อมสาย ( Fusion Splicer) ในการเชื่อมต่อหัวคอนเน็คเตอร์ ซึ่งมีให้เลือกดังนี้ SC/ST/FC/LC ผู้ติดตั้งจะต้องเลือกให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อจะได้เสียบเข้ากันได้ เพราะถ้าคนละชนิดกันจะไม่สามารถเข้ากันได้นั้นเอง
Snap-in Plate
เราจะเห็นว่ามีหลากหลายชนิด สำหรับข้อต่อตัวเมีย(Adapter) ชนิดต่างๆ และมีจำนวน ช่องใส่ 6-12 ตัว ต่อ 1 Plate ชนิดของข้อต่อมีดังนี้ ST/SC/FC/LC เราจำเป็นจะต้องเลือกให้พอดีกับสายเคเบิ้ลที่เราดึงเข้ามาติดตั้งในตู้ เช่น ถ้าสายไฟเบอร์ออพติก จำนวน 12 Core เราก็สามารถเลือกใช้งานได้ที่ 12 port เช่นกัน
ปัจจัย วิธีการเลือกใช้ ODF
สำหรับการเลือกซื้อ ตู้ ODF ที่ดี ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ยกตักอย่างเช่น
- Fiber Counts
จำนวนการเชื่อมต่อของ odf fiber
- Manageability
จัดเตรียมพื้นที่ให้เพียงพอและความง่ายในการเชื่อมต่อ odf fiber optic
- Flexibility
สามารถปรับความยืดหยุ่นของช่อง ODF ให้หมาะสม เช่น ODF ที่มีช่องขนาดอแดปเตอร์ ST สามารถติดตั้งได้ทั้งอแดปเตอร์ SC/LC และอแดปเตอร์ FC
- Protection
มีอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นต่างๆ ให้กับสาย fiber obtic เพราะตัวเชื่อม หรือข้อต่อต่าง ๆ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับเครือข่ายการส่งสัญญาณทั้งหมด
สรุป
ในปัจจุบันนิยมติดตั้งสายไฟเบอร์ออฟติกกันเป็นอย่างมาก ทั้งงานเดินระบบใหญ่ๆ หรืองานระบบที่ต้องการความเสถียรสูง การจะเก็บรักษาสายไฟเบอร์ออฟติกให้ดี รักษาอายุการใช้งาน จึงต้องใช้ ตู้ ODF เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการกรอบการกระจายไฟเบอร์ออปติกได้ดี
นอกจากนี้ ตู้ ODF ยังเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยลดต้นทุน เพิ่มความยืดหยุ่น บำรุงรักษาให้กับสายไฟเบอร์ออปติก ดังนั้นการเลือกใช้งาน ODF ให้เหมาะสม ดังนั้นคุณต้องเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องในการใช้งาน ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ความแข็งแรงของอุปกรณ์ และควรมีอุปกรณ์ป้องกัน fiber obtic จากฝุ่นต่าง ๆ ด้วย เพื่อรักษายืดอายุในการใช้งานให้นานมากขึ้นนั้นเอง
บริษัทของเรานอกจากจะรับติดตั้งตู้ ODF คุณภาพดี ราคาตามมาตราฐานแล้ว เรายังมีบริการติดตั้งเดินสายไฟเบอร์ออฟติก รับเข้าหัว fiber optic พร้อมออกแบบการใช้งานให้สะดวก ปลอดภัย เหมาะสมกับพื้นที่ เรามีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์มานานกว่า 10 ปี เราเป็นผู้นำในด้านการให้บริการเครือข่าย มั่นใจในการให้บริการผลิต เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณ
บริษัท เพอโซเน็ท จำกัดเราเป็นบริษัทอันดับ 1 ของประเทศไทย ยินดีให้บริการคุณ ทุกพื้นที่ ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย บริษัทของเรามีนวัตกรรมเครือข่ายที่ทันสมัย เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย และบริการติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก, แลน, กล้องวงจรปิด, ไฟฟ้า, โทรศัพท์ และบริการด้านไอที หากคุณสนใจต้องการผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งแบบมืออาชีพ