Ip camera คือ กล้องวงจรปิดประเภทตรวจตราดูแลรักษาความปลอดภัยชนิดหนึ่ง โดยที่ตัวกล้อง ip camera ไม่ต้องใช้ระบบตัวกลางสำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตัวรับสายปลายทางอีกที ซึ่งระบบกล้องวงจรปิด ip camera มีระบบ web sever ภายในตัวที่กล้องไอพีสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อถ่ายโอนข้อมูลภาพถ่ายส่งต่อถึงอุปกรณ์ดิจิตอลที่มนุษย์ใช้ติดตัวในชีวิตประจำวันอย่าง แท้บเล็ต แล็ปท็อป และสมาร์ทโฟน ในช่วงเวลาแบบเรียลไทม์(real-time) โดยการติดตั้งกล้อง ip camera สามารถทำงานด้วยตัวของตัวเองไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลจากระบบตัวกลางอีกเลย
กล้อง IP Camera (กล้องไอพี) มี 2 ชนิด ดังนี้
กล้องไอพี IP Camera ชนิดรวมที่ศูนย์กลาง (Centralized)
กล้อง IP camera ชนิดนี้เป็นกล้องไอพีระบบเครือข่ายที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์วิดีโอNVR (Network Video Recorder)เป็นระบบส่วนกลางในการรับส่งข้อมูลรูปภาพ ซึ่งการบันทึกรูปภาพทั้งหมดของการเชื่อมต่อ IP camera กับ NVR เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มผ่าน Internet Protocol ที่เป็นระบบการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ดิจิตอลที่รับข้อมูลทางปลายทาง การบันทึกของกล้อง IP cemera ชนิดนี้จึงสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะไกล ทำให้มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้แอปพลิเคชันจากระบบ IP cameraจากประเภทนี้ที่ต้องการซ่อนอุปกรณ์เชื่อมต่อในการบันทึกจากการถูกระบุตำแหน่งนอกพื้นที่จาก IP address
กล้องไอพี IP Camera ชนิดแยกจากศูนย์กลาง (Decentralized)
กล้อง IP camera ชนิดนี้เป็นกล้องไอพีระบบเครือข่ายที่ไม่ต้องพึ่ง NVR (Network Video Recorder)เป็นระบบส่วนกลางแต่อย่างใด เพราะเป็นกล้องไอพีที่สามารถกระจายข้อมูลรูปภาพและวีดิโอได้อย่างชัดเจนด้วยตัวของมันเองอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กล้อง IP camera ชนิดนี้ยังมีความสามารถในการบันทึกสื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลหลายประเภท เช่น NAS, SAN, ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ หรือแฟลชไดรฟ์ที่ผู้คนนิยมใช้บ่อยในการเก็บข้อมูลมากที่สุด และทำให้กล้อง IP camera กระจายศูนย์การใช้งานได้หลากหลายและมีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำ เมื่อเทียบกล้องไอพีแบบ Centralized
กล้อง IP Camera (กล้องไอพี) แบบมีสาย และไร้สาย
กล้องไอพี IP Camera แบบมีสาย (Wiring)
โดยกล้องไอพีแบบใช้สาย นิยมใช้สายlanแบบอีเทอร์เน็ต(Ethernet)ที่เป็นระบบเชื่อมต่อสัญญาณแบบเส้นเดียว ทำให้ระบบการส่งข้อมูลช้า เพราะสายอีเทอร์เน็ตจะเป็นสายlanที่รอการส่งข้อมูลรูปภาพและวีดีโอเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สามารถส่งลัดได้ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลจะช้ากว่ากล้อง IP cameraแบบไร้สายหลายเท่า
กล้องไอพี IP Camera แบบไร้สาย (Wireless)
โดยกล้องไอพีแบบไร้สาย เป็นระบบ IP camera ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งเครือข่ายตัวกลางในการส่งข้อมูล แต่เงื่อนไขของการทำงานกล้องชนิดนี้ให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอยู่เครือข่ายเน็ตเวิร์ดที่มีการเชื่อต่อส่งสัญญาณที่เสถียร จึงจะสามารถประมวลภาพ วีดีโอไปยังอุปกรณ์ดิจิตอลโดยตรงได้อย่างมีคุณภาพ
ประเภทกล้อง IP Camera (กล้องไอพี) แบ่งตามการใช้งาน
Fixed Camera กล้องแบบกระบอก
เป็นตัวกล้อง IP camera ที่สามารถแยกส่วนประกอบของเพื่อต่อเติมในการใช้ตัวอุปกรณ์เสริมได้อย่างอิสระ อย่างอุปกรณ์เลนส์ที่มีความสามารถในการดูวัตถุระยะใกล้และไกล โดยประเภทเลนส์สำหรับกล้อง IP camera แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
Fix Lens
เลนส์ฟิกส์ของกล้องIP camera มีขนาดเลนส์ให้สามารถติดตั้งใช้งานได้โดยมีขนาดตั้งแต่ 3.6mm.,4mm. และแบบ 6mm.
Auto Iris
เลนส์ปรับขนาดออโต้ของกล้อง IP camera ที่สามารถปรับความลึกในการมองเห็นได้อย่างอิสระและยังคงความละเอียดของภาพได้สูง จึงทำมห้เลนส์ชนิดนี้มีราคาสูงกว่าเลนส์ฟิกส์เป็นอย่างมาก
Infrared Camera กล้องแบบอินฟาเรด
เป็นกล้อง IP camera มีรูปร่างแบบทรงกลมและทรงกระบอก และส่วนประกอบของกล้องจะมีหลอดไฟLEDขนาดเล็กติดระนาบข้างๆกับตัวเลนส์กล้องไอพี เพื่อเป็นแสงตรวจจับภาพในสำหรับช่วงเวลากลางคืนหรือภายในอาคารที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด โดยระยะการมองเห็นของเลนส์กล้อง IP camera ตัวนี้สามารถมองเห็นภาพได้ระยะไกลถึง 10-30 เมตร
Dome Camera กล้องแบบโดม
เป็นกล้อง IP camera มีรูปร่างแบบทรงกลมลูกใหญ่ มีส่วนประกอบเป็นเลนส์กล้องที่สามารถซูมเข้าและออกในระยะความลึกของภาพได้ละเอียด และมีฟังก์ชันแบบบังคับหมุนตัวกล้องวงจรปิดได้โดยจะถูกสั่งการโดยตัวคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวควบคุมIP cameraอีกที เป็นกล้องไอพีที่เหมาะสำหรับติดบนเพดานภายในอาคาร อีกทั้งกล้องชนิดมีระบบกันน้ำได้ดีสามารถติดตั้งใช้งานได้ทุกสภาะแวดล้อม
Pan-Tilt และ Pan-Tilt-Zoom Camera กล้องแบบสปีดโดม (Speed Dome Camera)
เป็นกล้อง IP camera มีรูปร่างแบบทรงกลมลูกเล็ก ตัวกล้องไอพีนี้สามารถ ซูม หมุนตัว และก้มเงยได้อิสระในตัวเดียว แต่เป็นระบบ IP camera ที่ต้องพึ่งระบบส่วนกลางในการควบคุมการทำงานของตัวกล้องไอพีตัวนี้อีกที ยกตัวอย่างอุปกรณ์ตัวควบคุมกล้องสปีดโดมอย่าง คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึก หรือจอยควบคุมตัวกล้อง IP cameraตัวนี้อีกที เลนส์ตัวกล้องชนิดนี้สามารถมองเห็นระยะไกลได้สูงสุด 400-500m. และหมุนตัวเองได้มากกว่า 90 องศา และสามารถใช้ภายในและภายนอกอาคารได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน
การติดตั้งกล้อง IP Camera
กล้อง IP Camera ถือเป็นอุปกรณ์ที่ติดตามระบบสถานที่ได้ เพราะหากตัวอาคารที่จะทำการติดตั้ง IP camera หลายตัวอยู่ในอาณาเขตที่มีคลื่นรับส่งข้อมูลทางเครือข่ายเน็ตเวิร์ดอยู่แล้ว เพียงแค่เอาอุปกรณ์เชื่อมต่อสายสัญญาณคลื่นอย่างสายlan ทำการเข้าระบบกับตัวเสียบ IP cam ของกล้องไอพี ก็สามารถใช้งานของตัวกล้องไอพีได้แล้ว หลังจากนั้นลูกค้าสามารถให้ช่างหรือตัวคุณเองเข้าระบบจัดการ IP addressของตัวกล้อง ip cameraทีหลัง
การบันทึกภาพของกล้อง IP Camera
โดยหลังการบันทึกภาพของตัวกล้อง IP camera มีหลักการทำงาน 3 แบบด้วยกัน คือ
- สามารถบันทึกข้อมูลลงไว้ใน flash drive ที่เป็นส่วนกักเก็บข้อมูลของตัวกล้อง IP camera
- ใช้โปรแกรมแลพแอฟพลิเคชั่นในการบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์
- ใช้ NVR(Network Video Recorder) เป็นตัวกลางเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายในระบบกักเก็บข้อมูลในตัวกล้อง IP camera ได้
ข้อดีของการติดตั้งของกล้อง IP camera
- กล้องไอพีเป็นกล้องที่มีระบบเชื่อมสายน้อยทำให้การติดตั้งไม่ซับซ้อน
- รูปแบบกล้อง IP camera รุ่นหลังๆเป็นระบบเชื่อมเครือข่ายสัญญาณได้ด้วยตัวเอง ทำให้ไม่ต้องพึ่งระบบส่วนกลางของDVR(Digital Video Recorder)ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ท้ายสายทีหลัง
- เป็นกล้องที่สามารถตรวจดูเหตุการณ์แบบเรียลไทม์ในคุณภาพของภาพที่ชัดเจน