Preventive maintenance (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน) คือ อะไร

preventive maintenance คือเครื่องจักรกำลังทำงาน

ตั้งแต่ปีค.ศ.1760 ที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ ทำให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม การคมนาคม การผลิตสินค้าต่าง ๆ ล้วนมีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง ทำให้วัฒนธรรม สังคมของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด


โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตสินค้าจำนวนมากของโรงงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การควบคุมคุณภาพของสินค้า ไปจนถึงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องจักร ถ้าเครื่องจักรอยู่ในสภาพดี การทำงานก็จะมีประสิทธิภาพ สม่ำเสมอ สามารถทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปอย่างราบรื่น แต่ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจักรเสียหาย อาจจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง จนถึงไม่สามารถผลิตสินค้าออกมาได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องนำ Preventive maintenance เข้ามาจัดการ


อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงกำลังสงสัยว่า preventive maintenance คืออะไร การ ทำ pm เครื่องจักร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมโรงงานต่าง ๆ ถึงต้องมีการทำ preventive maintenance แล้วการ ทำ pm คือคำตอบที่ดีที่สุดในการบำรุงรักษาเครื่องจักรจริงไหม วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกัน เริ่มกันเลย

Preventive maintenance คือ


preventive maintenance คือการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยเป็นการรวมคำระหว่าง preventive แปลว่า ป้องกัน ส่วน maintenance แปลว่าบำรุงรักษา เมื่อนำทั้งสองมารวมกัน preventive maintenance หมายถึง บำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเสียหายมากขึ้น โดยการวิเคราะห์และบำรุงรักษาก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นมานั้นเอง


การทำงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต หรืองานใด ๆ การทำงานต่อเนื่องนอกจะทำให้เกิดประสบการณ์จนกลายเป็นความถนัด ประสิทธิภาพงานก็ยังคงที่ หรือดียิ่ง ๆ ขึ้น แต่เมื่อหยุดทำงาน นอกจากจะเสียเวลา และงานสะดุดแล้ว กว่าจะตั้งค่าหรือปรับจูนเครื่องจักรให้ทำงานให้มีประสิทธิภาพเท่าเดิม บางครั้งต้องใช้เวลา และงบประมาณที่สูงมาก ถ้ายิ่งเกิดความเสียหาย การซ่อมบำรุงยิ่งต้องใช้เวลานานเข้าไปอีก


ดังนั้นการ perventive maintenance คือคำตอบในการแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ โดยวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักร รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ จุดยึด เพลา เป็นต้น ด้วยการคาดการณ์อายุการใช้งานในแต่ละส่วน เพื่อที่จะทำการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนอะไหล่ก่อนที่จะเกิดความเสียหายที่มากขึ้นถ้าฝืนใช้งานตอนที่อุปกรณ์ชำรุด จึงนับว่า preventive maintenance จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ความสำคัญของ preventive maintenance

  • สามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการผลิตลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง เปลี่ยนอะไหล่อยู่อย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถแก้ปัญหาเครื่องวจักรชำรุดเสียหายที่อาจเกิดจากการชำรุดของอุปกรณ์ลงได้ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จะทำให้เสียเวลา และค่าซ่อมใหญ่เป็นอย่างมาก

  • ด้วยการเปลี่ยนอะไหล่และบำรุงรักษาเครื่องจักรอยู่อย่างเสมอ ทำให้เครื่องจักรสามารถใช้งานได้นานขึ้น เพราะอะไหล่ที่สมบูรณ์การทำงานก็จะปกติ ไม่เกิดความเสียหาย
  • สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ จากการเสียหายของอุปกรณ์ภายในที่สามารถเปลี่ยน หรือบำรุงรักษาได้

  • ช่วยลดต้นทุน เพราะการใช้งานเครื่องจักรจนถึงอายุการใช้งาน แต่ไม่มีการซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอะไหล่เลย ในการซ่อมแต่ละครั้งอาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการบำรุงรักษาตามเวลาถึง 10 เท่า ทั้งยังใช้เวลานานอีกด้วย
  • การใช้พลังงานน้อยลง เมื่อเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นเวลานาน มักจะมีอุปกรณ์ภายในบางอย่างเสียหาย ถึงแม้จะเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นจะยังคงใช้งานได้ แต่ก็อาจจะมีการสูญเสียพลังงานไปในจุดที่ชำรุดได้ ทั้งยังอาจทำให้อายุการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นลดลงอีกด้วย การซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอะไหล่เมื่อชำรุด จะสามารถยืดอายุการใช้งานออกไปได้

การวางแผน preventive maintenance

preventive maintenance คือการซ่อมบำรุงรักษาภายในโรงงาน

การวางแผน pm ที่ดีควรมีการกำหนดเวลาอย่างชัดเจน และนอกจากมีเวลาที่ชัดเจนแล้ว การจัดเก็บบันทึกข้อมูล รายละเอียดให้ครบถ้วน รวมถึงต้องเน้นย้ำกำหนดเวลาซ่อมบำรุงให้ชัดเจน เพราะในบางครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนทีมงาน กำหนดการ preventive maintenance อาจจะมีการคลาดเคลื่อนไปจากกำหนดการเดิน ซึ่งมีโอกาสทำให้เครื่องจักรมีความเสียหายได้โดยง่าย


นอกจากกำหนดการซ่อมบำรุงหรือ preventive maintenance การตรวจหน้างานจริงก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะบางครั้งผู้ที่ส่งรายงานการซ่อมบำรุงอาจจะไม่ได้ทำการเปลี่ยนอะไหล่หรือซ่อมบำรุงจริง ๆ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นหัวหน้างานจึงตั้งหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเมื่อถึงรอบการทำ preventive maintenance

ประเภทของ preventive maintenance

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (preventive maintenance) มักจะถูกแบ่งประเภทออกเป็นการซ่อมบำรุงเป็นช่วงเวลาต่าง ๆ ดังนี้

Time-based Preventive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา)

Time-based Preventive Maintenance หรือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา ถือเป็นประเภทที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยอุปกรณ์ เครื่องยนต์ เครื่องจักรแต่ละชิ้นมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นอายุการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นจึงแตกต่างกันไปตามความหนักเบาในการทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนหรือซ่อมบำรุงตามรอบเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นเปลี่ยนเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี เป็นต้น

Usage-based Preventive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน)

Usage-based Preventive Maintenance หรือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน ถือเป็นอีกประเภทที่ใช้กันบ่อยเช่นกัน เพราะแต่ละอุปกรณ์มีการใช้งานหนักเบาไม่เท่ากัน ดังนั้นการบำรุงเชิงป้องกันตามปริมาณงาน จึงมีความแม่นยำมากกว่า preventive maintenance แบบตามระยะเวลา เพราะสามารถป้องกันความเสียหายได้อย่างทันท่วงที

Predictive Preventive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงป้องกันคาดการณ์)

Predictive Preventive Maintenance หรือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคาดการณ์ล่วงหน้า การจะทำอย่างนี้ได้จำเป็นต้องเก็บข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องยนต์ เครื่องจักรอย่างละเอียดและต่อเนื่อง แล้วจึงให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินอายุการใช้งานของแต่ละชิ้น จากนั้นจึงวางแผนการเปลี่ยนอะไหล่หรือซ่อมบำรุงในเวลาที่เหมาะสม เพราะถ้าเปลี่ยนเร็วเกินไป จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ถ้าช้าเกินไป อาจจะเกิดความเสียหายในระยะยาวได้

ประโยชน์ของ preventive maintenance

เนื่องจากงาน pm มีหน้าที่ในการบำรุงก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ดังนั้นประโยชน์หลัก ๆ ของ preventive maintenance จึงมีดังต่อไปนี้

  • ลดความเสียหายของเครื่องจักรที่จะเกิดกับเครื่องจักรเมื่อมีอุปกรณ์ใด อุปกรณ์หนึ่งเกิดชำรุดเสียหาย ทำให้มีอาจมีผลกระทบกับเครื่องจักรในระยะยาว
  • ช่วยให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เสียเวลาซ่อมบำรุงเมื่อเกิดความเสียหายใหญ่ ทำให้เสียโอกาส และเวลาไปอย่างใช่เหตุ
  • วางแผนการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนอะไหล่ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเสียหายกับเครื่องจักรให้น้อยที่สุด
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรครั้งใหญ่ ที่จะมากกว่าการ preventive maintenance อยู่เสมอ ซึ่งใช้ค่าใช้จ่าย และเวลาน้อยกว่ามาก

system integration ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดเวลาในการผลิต

system integration คือการบูรณาการของระบบ หรือเรียกง่าย ๆ คือระบบอัตโนมัติ ซึ่งมักถูกนำมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ภายในโรงงานขนาดเล็ก ไปถึงโรงงานชั้นนำ ซึ่งสามารถลดทรัพยากรบุคคลลงไปได้อย่างมาก ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูง และคงที่ นอกจากนี้ยังสามารถลดต้นทุนและเวลาในการผลิตลดลงไปอย่างมาก เมื่อเที่ยบกับแรงงานคน

ช่วยเพิ่มผลผลิต (Boosts productivity)

Boosts productivity หรือการช่วยเพิ่มผลผลิต เนื่องจากการทำ preventive maintenance จะทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่พร้อมทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเสียเวลาซ่อมบำรุงครั้งใหญ่เมื่อมีปัญหา ทำให้เสียโอกาสไปอย่างมากมาย

ข้อจำกัด ของ Preventive Maintenance

เนื่องจาก preventive maintenance เป็นการกำหนดการที่แน่นอนเป็นแบบแผน ไม่ใช่การแจ้งแบบ Rael-Time(ส่งข้อมูลตลอดเวลา) ทำให้ไม่มีความยืดหยุ่น บางครั้งการบำรุงรักษาอาจจะช้าจนเกินไป ทำให้เครื่องจักรเสียหายไปแล้ว หรืออาจจะซ่อมบำรุงก่อนอะไหล่ชำรุด ทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ ทั้งนี้การทำ preventive maintenance ยังใช้เวลาค่อนข้างนาน จำเป็นต้องวางแผนการจัดการอย่างรัดกุม

ตัวอย่างของ preventive maintenance

การวางแผนการ บำรุง รักษา หรือ preventive maintenance จำเป็นต่อโรงงานเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งมีอายุการใช้งานอยู่ 3,600 ชั่วโมง การทำแผน preventive maintenance คือจะทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นนั้นเมื่อใช้งานไปได้ 3,500 ชั่วโมง ถึงแม้อุปกรณ์ชิ้นนั้นจะสามารถใช้งานได้มากกว่า 3,600 ชั่วโมง แต่ประสิทธิภาพของงานอาจจะลดลง รวมถึงอาจทำให้เครื่องจักรนั้นเสียหายในระยะยาวได้อีกด้วย

สรุป

 

พนักงานกำลังทำ preventive maintenance

Preventive Maintenance คือการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ที่มักใช้กันในโรงงานตั้งแต่ขนาดเล็กไปถึงโรงงานชั้นนำ ด้วยการบำรุงรักษาเครื่องจักรก่อนที่จะเสียหาย โดยการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนอะไหล่ในส่วนต่าง ๆ ก่อนที่อุปกรณ์ชิ้นนั้นจะเสียหาย โดยแผน pm ก็มีด้วยกันหลายประเภทคือ การบำรุงรักษาเชิงปกป้องตามระยะเวลา การบำรุงรักษาเชิงปกป้องตามปริมาณงาน และสุดท้ายคือการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า


ถึงแม้การทำ preventive maintenance จะมีข้อดีในการช่วยบำรุงรักษาเครื่องจักรก่อนที่จะเกิดความเสียหาย แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องที่การทำ pm ไม่ใช่การทำแบบ Real-Time หรือประมวลผลตลอดเวลา ซึ่งมีระยะเวลาการทำ preventive maintenance มันจะไม่สามารถยืดหยุ่นได้ บางครั้งอาจจะเปลี่ยนอุปกรณ์ช้าเกินไปจนเกิดความเสียหาย หรืออาจจะเร็วเกินไป ซึ่งอุปกรณ์นั้นยังใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ


ดังนั้นถ้าบริษัทใดใช้ preventive maintenance จึงควรใช้แผนแบบการบำรุงรักษาเชิงปกป้องแบบคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ก็จำเป็นที่จะต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาจุดที่เหมาะสมที่สุดในการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนอะไหล่ เพื่อไม่ให้บริษัทเสียเวลา และค่าเปลี่ยนอุปกรณ์โดยใช่เหตุ