เพลิงไหม้เป็นเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นโดยที่ใคร ๆ หลายคนไม่ได้คาดคิด ซึ่งนอกจากจะสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และชีวิตแล้ว ยังอาจสร้างบาดแผลทางจิตใจให้แก่ผู้ที่ประสบได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันการป้องกันเหตุเพลิงไหม้สามารถทำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นก็คือการติดตั้ง smoke detector หรือที่หลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยกันในชื่อเครื่องตรวจจับควันนั่นเอง
บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการติดตั้ง smoke detector เบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ในการติดตั้ง ปัจจัยในการติดตั้ง รวมถึงวิธีติดตั้ง smoke detector เพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือก smoke detector ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ทำความรู้จัก Smoke Detector
Smoke Detector คืออะไร
smoke detector หรืออุปกรณ์ตรวจจับควัน เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ภายในระบบรักษาความปลอดภัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดย Smoke Detector มีหลักการทำงานผ่านการตรวจจับควันไฟและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อควันลอยตัวขึ้นไปกระทบกับความถี่หรือสัญญาณที่เครื่องปล่อยออกมา จากนั้นเครื่องตรวจจับควันจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนเหตุแก่ผู้อยู่อาศัยในทันที
อุปกรณ์ตรวจจับควันสามารถทำงานร่วมกับระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Alarm System) เพื่อให้ทำการทำงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ แต่ในปัจจุบันผู้คนยังนิยมทำการติดตั้ง smoke detector ในสถานที่ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
เครื่องตรวจจับควันมีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์หลัก ๆ ของการติดตั้ง smoke detector นั่นคือการช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้สถานที่ต่าง ๆ รวมถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในสถานที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการทำงานตลอดเวลา เมื่อ smoke detector การติดตั้งมีความถูกต้องและเหมาะสม จะทำให้ผู้คนสามารถรับรู้เหตุการณ์ทำให้สามารถลดความสูญเสียได้เป็นอย่างดี
การติดตั้ง Smoke Detector ควรทำที่ไหนบ้าง
การติดตั้ง Smoke Detector สามารถทำได้ทั่วไปตามสถานที่ต่าง ๆ โดยจะต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ เพื่อให้การติดตั้งนั้นเกิดความเหมาะสมและส่งผลให้ตัวเครื่องตรวจจับควันเกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด ซึ่งสถานที่ที่นิยมทำการติดตั้ง Smoke Detector แบ่งออกได้ ดังนี้
ห้องนอน ห้องพัก
การติดตั้ง Smoke Detector ในบริเวณห้องนอน สถานที่พักผ่อน หรือพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ที่ผู้คนมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในบริเวณเหล่านั้น โดยจะต้องติดตั้งไม่น้อยกว่า 1 ชุดต่อห้อง จะช่วยให้ผู้พักอาศัยสามารถรับรู้ถึงสถานการณ์ และสามารถหยุดการลุกลามของไฟ ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างทันท่วงที
ช่องทางเดิน
การติดตั้ง Smoke Detector บริเวณทางเดินต่าง ๆ ควรเลือกเครื่องตรวจจับควันที่มีความสามารถในการตรวจจับควันไฟได้ดี เนื่องจากผู้คนที่อยู่ในห้องใกล้เคียงบริเวณดังกล่าวจะได้ยินเมื่อเกิดสัญญาณเตือนภัยขึ้น นอกจากนี้ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินร่วมด้วย เพื่อให้แสงส่องสว่างในกรณีที่เกิดไฟฟ้าขัดข้อง
บ้านอยู่อาศัยหรือห้องแถว
สำหรับการติดตั้ง Smoke Detector บริเวณบ้านที่ใช้อยู่อาศัยหรือห้องแถวควรติดตั้งให้กระจายอยู่ทั่วทั้งบริเวณโดยรอบ โดยการติดตั้ง Smoke Detector จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสถานที่เหล่านี้มักมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และมีเชื้อเพลิงที่จะทำให้ไฟเกิดการลุกลามได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
อาคารสูง (เกิน 3 ชั้น)
การติดตั้ง Smoke Detector ในอาคารสูงก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภายในอาคารประกอบไปด้วยบุคลากร ข้อมูลที่สำคัญ รวมถึงทรัพย์สินอื่น ๆ จำนวนมาก โดยจำเป็นต้องให้อุปกรณ์ตรวจจับทำงานร่วมกับระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ รวมถึงมีการออกแบบให้สามารถส่งสัญญาณแจ้งเหตุได้อย่างทั่วถึงทั้งอาคาร
ปัจจัยในการติดตั้ง Smoke Detector
สำหรับปัจจัยในการติดตั้ง Smoke Detector สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
1. ความสูงของเพดาน
ความสูงของเพดานที่เหมาะสมในการติดตั้ง Smoke Detector ชนิดทั่วไปควรอยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 10.5 เมตร แต่สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดลำแสงจำเป็นจะต้องติดตั้งในระดับความสูงไม่เกิน 25 เมตร หากมี ความสูงเกิน 25 เมตร ควรทำการติดตั้ง Smoke Detector ชนิดลำแสงในหลาย ๆ ระดับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการตรวจจับควันไฟมากที่สุด
2. ระยะห่างและตำแหน่ง
ระยะการติดตั้ง smoke detector มีความห่างจากฝ้าเพดานหรือหลังคาที่เหมาะสม ดังนี้
- ชนิดจุด : ควรมีระยะห่างจากฝ้าเพดานหรือหลังคา 25-600 มิลลิเมตร
- ชนิดลำแสง : จำเป็นต้องห่างจากฝ้าเพดานหรือหลังคา 300-750 มิลลิเมตร
มาตรฐานการติดตั้ง smoke detector ตำแหน่งพื้นผิวแนวราบ อุปกรณ์ตรวจจับควันจะต้องติดตั้งให้มีระยะห่างจากอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่เกิน 6.30 เมตร โดยระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่ควรเกิน 9 เมตร ในบริเวณโถงทางเดินการติดตั้ง smoke detector ควรมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่เกิน 12 เมตร และสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง ควรมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่เกิน 14 เมตร
ประโยชน์ของการติดตั้ง Smoke Detector
ประโยชน์ของการติดตั้ง Smoke Detector สามารถแบ่งออกได้ 5 ข้อ ดังนี้
- สามารถตรวจจับควันไฟได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายและความสูญเสียได้เป็นอย่างดี
- มีการแจ้งเตือนผ่านการส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อย่างทันท่วงที
- ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ทุกคนในบ้านมีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา
- แข็งแรงทนทาน แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทำให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
- มีฟังก์ชันการทำงานที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น การแจ้งเตือนการเปลี่ยนแบตเตอรี่ การทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ
วิธีการติดตั้ง Smoke Detector
เนื่องจากการติดตั้ง smoke detector จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์และระบบการทำงานเป็นอย่างดี เพื่อให้เครื่องตรวจจับควันไม่เกิดความเสียหาย และสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การเข้ารับบริการติดตั้ง smoke detector จากทีมงานผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นทางเลือกที่ดีเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากทีมงานเหล่านี้ล้วนมีประสบการณ์และความชำนาญในการติดตั้ง มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่พร้อมใช้งาน รวมถึงยังสามารถออกแบบการติดตั้งที่เหมาะสมกับสถานที่ได้ นอกจากนี้หลังการติดตั้งเสร็จสิ้นจะมีการตรวจเช็กการทำงานของอุปกรณ์ และทดสอบการทำงานของระบบเช่นเดียวกัน
สรุปการติดตั้ง Smoke Detector
การติดตั้ง smoke detector เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการทำงานผ่านระบบที่แม่นยำตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อเกิดเหตุร้าย ทำให้สามารถลดการสูญเสียได้เป็นอย่างดี
สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันที่ไม่มีเวลามากเพียงพอ หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิธีติดตั้ง smoke detector ที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถเลือกใช้บริการติดตั้งจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้เช่นเดียวกัน Personet เป็นบริษัทชั้นนำที่มีประสบการณ์ด้านการทำงานมายาวนานกว่า 10 ปี ที่มีบริการรับตั้ง smoke detector เช่นเดียวกัน