ในปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดอัคคีภัยเป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหาย สูญเสียทรัพย์สินและชีวิต การมีความรู้เรื่องอัคคีภัย รู้จักสาเหตุของการเกิดและวิธีป้องกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก
วันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเรื่อง อัคคีภัยคืออะไร การเกิดไฟ องค์ประกอบของการเกิดไฟ ประเภทของไฟและสัญลักษณ์ มีทั้งหมดกี่ประเภท รวมถึงวิธีป้องกันการเกิดอัคคีภัย ด้วยระบบการติดตั้งระบบ Fire Alarm เพื่อลดการก่อให้ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอัคคีภัย
อัคคีภัย ไฟไหม้ คืออะไร
อัคคีภัย คือ เหตุการณ์ไฟไหม้ หรือเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากไฟ ที่ขาดการควบคุมและเกิดการลุกลามก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัย
ไฟไหม้ อัคคีภัย มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
การเกิดอัคคีภัย สามารถแบ่งตามประเภทของไฟ ชนิดของไฟได้ทั้งหมด 4 ประเภท
1. ไฟประเภท A
ไฟประเภท A เป็นการเกิดอัคคีภัยจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เช่นไม้ กระดาษ เสื้อผ้า พลาสติก ยาง ฯลฯ ที่หลังจากเกิดการเผาไหม้แล้วจะเหลือซากเป็นเถ้าถ่าน
สามารถดับไฟได้ด้วยวิธี : การปล่อยให้เย็นลง การชุบน้ำ หรือใช้สารเคมีที่ช่วยในการดับไฟ
2. ไฟประเภท B
ไฟประเภท B เป็นการเกิดอัคคีภัยจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ติดไฟง่าย หรือเป็นของเหลวไวไฟ รวมถึงเกิดจากเชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นก๊าซ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดต่างๆ ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ สารตัวทำละลาย ต่างๆ เช่น ก๊าซหุงต้ม,โพรเพน,บิวเทน ไฮโดรเจน, อะซิทีลนี เมื่อเกิดเพลิงไหม้จากเชื้อเพลิงประเภทนี้แล้ว จะไม่เหลือเถ้าถ่าน
สามารถดับไฟได้ด้วยวิธี : การปกคลุมให้ไม่พบอากาศ การกลบปิดกำจัดออกซิเจน ให้ไม่มีอากาศ หรือใช้สารทำลายการเกิดปฏิกิริยา เช่นผงเคมีแห้ง
3. ไฟประเภท C
ไฟประเภท C เป็นประเภทเดียวที่การเกิดอัคคีภัยไม่เกี่ยวกับชนิดเชื้อเพลิง แต่ใช้กระแสไฟฟ้าที่อยู่ในเชื้อเพลิงเป็นเกณฑ์การจำแนกประเภท เช่นการเกิดไฟกับเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า
สามารถดับไฟได้ด้วยวิธี : การตัดกระแสไฟฟ้าให้ปิดลงขณะเกิดไฟไหม้ สามารถใช้สารดับเพลิงที่ไม่นำไฟฟ้าได้
ข้อห้ามสำคัญ : ห้ามใช้น้ำฉีดเด็ดขาด
4. ไฟประเภท D
ไฟประเภท D เป็นการเกิดอัคคีภัยจากกลุ่มประเภทเชื้อเพลิงที่อยู่ในกลุ่มพวกโลหะ เช่น แมกนีเซียม ไทเทเนียม ผงอะลูมิเนียมซึ่งเชื้อเพลิงประเภทนี้จะติดไฟยากกว่าประเภทข้างต้น แต่ถ้าหากเกิดการลุกไหม้เกิดขึ้นแล้ว เชื้อเพลิงประเภทนี้จะมีเพลิงไหม้ที่รุนแรงมาก
สามารถดับไฟได้ด้วยวิธี : การใช้สารเคมีแห้งชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง มาปกคลุมเพลิงไหม้
ข้อห้ามสำคัญ : ห้ามใช้น้ำฉีดเด็ดขาด
5. ไฟประเภท K
ไฟประเภท K เป็นการเกิดอัคคีภัยจากกลุ่มประเภทเชื้อเพลิง เช่นน้ำมันทำอาหาร น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ และไขมัน ประเภทเหล่านี้จะพบได้บ่อยจากสถานที่ประกอบอาหาร ห้องครัว เป็นต้น
สามารถดับไฟได้ด้วยวิธี : ทำให้อับอากาศ หรือใช้น้ำยาโฟม หรือทรายในการดับไฟ หรืออีกหนึ่งวิธีคือใช้เครื่องดับเพลิงที่เป็นชนิดน้ำผสมสารโพแทสเซียมอะซิเตท
ข้อห้ามสำคัญ : ห้ามใช้น้ำฉีดเด็ดขาด และห้ามใช้น้ำฉีดเด็ดขาด
สาเหตุของการเกิดอัคคีภัย มีอะไรบ้าง
ความรู้เรื่องอัคคีภัยเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกัน และจัดการกับปัญหาและเหตุการณ์เวลาเกิดอัคคีภัยในขณะนั้น
ซึ่งสาเหตุของการเกิดอัคคีภัย หรือสาเหตุของการเกิดไฟ เกิดได้จากหลายปัจจัยมากมายที่มีส่วนประกอบ เราจะมาพูดถึงสาเหตุหลักๆเพียง 2 สาเหตุการเกิดไฟ หรืออัคคีภัย ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้
1. สาเหตุของการเกิดอัคคีภัยที่เกิดจากความตั้งใจทำให้เกิด
2. สาเหตุของการเกิดอัคคีภัยที่มิได้ตั้งใจให้เกิด หรือการเกิดอัคคีภัยที่เกิดจากความประมาท
โดยแบ่งเป็นสาเหตุการเกิดไฟ หรืออัคคีภัยจนเกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ อาจมีสาเหตุการเกิดไฟจากข้อดังต่อไปนี้
2.1 ความประมาทขาดความรู้ในการใช้อุปกรณ์ วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง ของผู้ใช้งานและอุปกรณ์ที่อาจเป็นองค์ประกอบของการเกิดไฟ
2.2 ความประมาทจากการคึกคะนอง ทดลองใช้งานแบบผิดวิธีหรือความเคยชิน โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
2.3 อุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้งานที่ผิด หรืออุปกรณ์ วัสดุนั้นไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร
ดังนั้นก่อนการใช้งานอุปกรณ์ที่มีความอันตรายจากการใช้งานที่อาจจะก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ ควรจะตรวจสอบสภาพก่อนใช้งาน ศึกษาวิธีใช้งาน รวมถึงวิธีการเก็บรักษาสิ่งนั้นๆ และการระมัดระวังที่จะช่วยทำให้โอกาสการเกิดไฟนั้นมี โอกาสน้อยลงให้มากที่สุด
องค์ประกอบของการเกิดไฟ อัคคีภัย มีอะไรบ้าง
องค์ประกอบของการเกิดไฟ นอกจากจะมีทั้งปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ในเหตุการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดอัคคีภัย หรือไฟไหม้ได้ในขณะนั้นมี 3 ปัจจัยหลัก คือ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อนซึ่งหากควบคุมทั้ง 3 ปัจจัยนี้ได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ก็จะสามารถควบคุมและป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้มากขึ้น
1. เชื้อเพลิง
สิ่งของหลายชนิดสามารถเป็นเชื้อเพลิงของการเกิดอัคคีภัย หรือเกิดไฟไหม้ได้ตลอดเวลาจะอยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ซึ่งเชื้อเพลิงทุกชนิดจะมีคุณสมบัติการติดไฟและการเผาไหม้ยากง่ายแตกต่างออกไป รวมถึงลักษณะการเผาไหม้ที่แตกต่างกัน
2. ออกซิเจน
ในอากาศที่เราหายใจจะมีปริมาณของ ออกซิเจน ประมาณ 21 % ซึ่งสำหรับการเผาไหม้ ในแต่ละครั้งจะใช้ ออกซิเจนประมาณ 16 % ซึ่งในการเผาไหม้ ยิ่งถ้ามีปริมาณออกซิเจนมาก เชื้อเพลิงก็จะยิ่งสามารถติดไฟได้ดีขึ้น นอกจากนั้นเชื้อเพลิงบางประเภทไม่ต้องการ ออกซิเจนในการเผาไหม้ เนื่องจากมีออกซิเจนในตัวเองเพียงพอโดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนโดยรอบ
3.ความร้อน
ความร้อน คือ พลังงานที่ทำให้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดเกิดการเผาไหม้ และเป็นตัวเร่งจุดเดือดต่อวัตถุ หรือเชื้อเพลิงนั้นๆ
วิธีการป้องกันอัคคีภัย
วิธีป้องกันอัคคีภัยนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เริ่มจากการศึกษาข้อมูลการป้องกันอัคคีภัยในรูปแบบต่าง ควรจะตรวจสอบสภาพสิ่งของวัสดุที่อาจเป็นเชื้อเพลิง หรือก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ ก่อนการใช้งาน ควรศึกษาวิธีใช้งานที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงวิธีการเก็บรักษาสิ่งนั้นๆ ในรูปแบบควร
แต่ถ้าหากเป็นอาคารก่อสร้าง หรือร้าน และสถานที่ต่างๆ จะพบว่าได้ว่าสิ่งก่อสร้าง อาคารเหล่านี้ จะต้องสร้างและออกแบบการตกแต่งให้สอดคล้องกับมาตรฐานข้อกำหนดของกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555
1. Smoke Detector
smoke detector เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันที่สามารถจับกลุ่มควันที่ลอยขึ้นบนที่สูง และส่งสัญญาณเตือนภัยเป็นเสียงให้ทราบ โดยทำงานตรวจจับควันไฟและคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อประสิทธิภาพในการดูแลและป้องกัน แนะนำให้ติดตั้งระบบ fire alarm ควบคู่กันเพื่อการป้องกันและแจ้งเตือนที่ดีขึ้น
2. ป้ายทางออก
ป้ายทางออก (Emergency Exit Sign) คือ ป้ายหนีไฟ หรือป้ายทางออกฉุกเฉิน มีความสำคัญอย่างมากในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและต้องการหาทางออกจากตัวอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ป้ายนี้จะบอกทางออกตำแหน่งที่ ทิศทาง ความหมายของป้ายที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป ที่จะนำพาทุกคนไปยังตำแหน่งที่ปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง
3. ไฟฉุกเฉิน
ไฟฉุกเฉิน หรือ emergency light เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างสำรองในพื้นที่ต่างๆ ไฟฉุกเฉินจะทำงานอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าดับ เพื่ออำนวยความสะดวกในการมองเห็นชั่วคราว ผ่านการเก็บพลังงานจากแบตเตอรี่ที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา นอกจากการส่องสว่างสำรองในขณะที่ไฟฟ้าเกิดเหตุขัดข้องแล้วนั้น ในสถานการณ์ที่เกิดอัคคีภัย ไฟสำรองฉุกเฉินจะทำการส่องแสงสว่างนำทางผู้ประสบภัยให้มองเห็น และสามารถอพยพออกจากสถานที่ได้อีกด้วย
ติดตั้งระบบ Fire Alarm ป้องกันอัคคีภัยกับ Personet
1 ในตัวเลือกสำหรับการป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่ดีคือ การติดตั้งระบบ Fire Alarm คือระบบแจ้งเตือนเมื่อมีเกิดเหตุเพลิงไหม้ช สามารถใช้อุปกรณ์ตรวจจับ Fire Alarm หลากหลายรูปแบบ เช่น Smoke Detector, Heat Detector, Manual Pull Station ( Manual Call Point ) เป็นต้น จะช่วยให้การรับรู้เหตุการณ์ไวขึ้น และเข้าแก้ไขหรือควบคุมสถานการณ์ได้ทันเวลา ลดการสูญเสียและเสียหายได้น้อยลง
สรุปเกี่ยวกับอัคคีภัย
สรุปแล้ว อัคคีภัยนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งการขาดความรู้ การเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ความประมาทที่ตั้งใจ และความประมาทที่ไม่ตั้งใจหรืออุบัติเหตุต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย สิ่งที่ควรปฏิบัติในขณะที่ยังไม่เกิดอัคคีภัย หรือไฟไหม้ แก่ทรัพย์สินต่างๆคือการป้องกัน รวมถึงการเรียนรู้สาเหตุของการเกิดไฟความรู้เรื่องอัคคีภัย
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ การป้องกันการเกิดอัคคีภัย ซึ่งในยุคใหม่มีเทคโนโลยีเข้ามามากมายในการช่วงดูแลควบคุมไม่ให้เกิดอัคคีภัย หลายรูปแบบรองรับการใช้งานจริงที่จะสามารถอำนวจความสะดวกให้แก่เจ้าของทรัพย์สินได้
ซึ่งผลกระทบของการเกิดอัคคีภัยไม่มีเพียงแค่ทำลายทรัพย์สินส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย