จะรับมือกับปัญหาเรื่องบ้านไฟดับทำไงดี? เพราะคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาเรื่องไฟดับค่อนข้างส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ช่วงฝนตกหนัก พายุฝนฟ้าคะนอง ทำให้ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้ความสว่างสำรองเอาไว้ รวมไปถึงต้องวางแผนล่วงหน้าไว้หากว่าเกิดไฟดับขึ้นมาจะต้องทำยังไง เพราะอาจส่งผลกระทบให้ไม่สามารถทำงานหรือส่งงานในขณะนั้นได้
ยิ่งด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปการทำงานแบบ Work from home ยิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีรับมือกับสถานการณ์ไฟดับอย่างถูกต้อง ว่าสาเหตุของการเกิดไฟดับนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อจะได้รับมือการไฟดับอย่างถูกจุด ในบทความนี้เราได้รวบรวมสาเหตุหลัก ๆ ในการเกิดไฟดับว่าเกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง
สาเหตุของการเกิดไฟดับ
1. เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน
ไฟดับทำไง? การหาสาเหตุแรก ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมากที่สุดก็คือ ระบบไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน ซึ่งจะต้องหาสาเหตุและต้นตอของไฟฟ้าลัดวงจรครั้งนี้ให้ได้ เพื่อจะได้รีบดำเนินการแก้ไขให้เร็วไวที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับคนภายในบ้านนั่นเอง
2. เกิดจากภัยธรรมชาติ
ฝนตก มีลมพายุ ฟ้าผ่า อาจเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่จะส่งผลให้ไฟดับขึ้นได้ง่ายมากที่สุด เพราะขึ้นชื่อว่าภัยจากธรรมชาติก็จะไม่ส่งผลเล็กน้อยอย่างแน่นอน ควรตรวจเช็คอุปกรณ์ภายในบ้านอยู่บ่อย ๆ คือ ฟิวส์หรืออุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ไฟตก เป็นต้น
3. เกิดจากสภาพแวดล้อม
ปัญหาเรื่องไฟดับที่เกิดจากสภาพแวดล้อมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น การเกิดการขัดข้องในส่วนของการผลิตไฟฟ้า อุปกรณ์ส่งไฟฟ้าทำงานผิดปกติ เกิดการลัดวงจรที่มีสาเหตุจากต้นไม้ที่ปลูกขึ้นตามแนวสายไฟฟ้าที่จะทำให้ลมพัดกิ่งไม้ไปแตะกับสายไฟ ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรชั่วคราว และส่งผลให้ไฟตกหรือไฟดับชั่วคราวในที่สุด
4. เกิดจากสัตว์ต่าง ๆ ภายในบ้าน
สัตว์บางชนิดที่สามารถปีนหรือบินขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าได้ อาทิเช่น นก แมว จิ้งจก หรืองู ซึ่งสัตว์เหล่านี้ ถ้าได้ไปเกาะสายไฟฟ้าหรือลูกถ้วย จะมีโอกาสทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟช็อตไหลผ่านตัวสัตว์ลงสู่ดิน ทำให้อุปกรณ์ป้องกันทำงานและทำให้ไฟดับลง
5. เกิดจากอุบัติเหตุ
ไฟดับที่เกิดจากอุบัติเหตุก็ยังเป็นอีกสาเหตุที่สามารถพบได้บ่อย ซึ่งอาจจะเกิดจากได้จากความประมาท ไม่รู้ ของคน อาทิเช่น ขับรถชนเสาไฟฟ้าจนล้มสายไฟฟ้าขาด การใช้เครื่องจักรทำงานในระหว่างที่ใกล้สายไฟฟ้า การตัดต้นไม้ที่อยู่ตามแนวเสาไฟฟ้า เป็นต้น
6. เกิดจากการไฟฟ้าตัดกระแสไฟฟ้า
ไฟดับบ้านเดียวทําไง? ในส่วนนี้เกิดขึ้นจากทางการไฟฟ้าได้ทำการตัดไฟฟ้าด้วยตัวเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ระบบไฟฟ้ามีความชำรุดกระทันหัน เช่นเกิดจากอุบัติเหตุ จึงจำเป็นต้องตัดกระแสไฟฟ้า เพื่อเข้าไปแก้ไขหรือเกิดจากการที่การไฟฟ้าจะเข้าไปบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ตามพื้นที่ ซึ่งในข้อนี้ทางการไฟฟ้าจะประกาศล่วงหน้าทางหน้าเว็บไซต์ของการไฟฟ้าได้เรียบร้อยอย่างน้อย 3 วันทำการ
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไฟดับ
ไฟดับทำไง? อันตรายไหม? เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเคยเจอ กับปัญหาไฟตกในบ้าน สำหรับบางคนอาจคิดว่าแค่ไฟตกครู่เดียว ไม่ได้ทำให้เดือดร้อนอะไรมากมาย อาจจะแค่ตกใจเล็กน้อย แต่การที่ไฟตกบ่อยครั้งเข้า ก็เป็นสัญญาณว่าไฟบ้านของคุณอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
และมันอาจสร้างความเสียหายให้กับบ้านคุณมากกว่าที่คิด เพราะมีการจ่ายไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ หากไฟตกจนเครื่องต้องหยุดทำงานฉับพลันก็จะทำให้วงจรไฟฟ้าภายในเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ได้รับความเสียหาย ส่งผลให้เครื่องใช้นั้นเสื่อมสภาพเร็วขึ้น อายุการใช้งานสั้นลง หรือถ้ารุนแรงไปกว่า ในกรณีที่เกิดไฟตกบ่อย ๆ บวกกับความขัดข้องของเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าไปอีก อาจทำให้ไฟบ้านเกิดการลัดวงจร จนเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดไฟไหม้บ้านได้
วิธีรับมือเมื่อเกิดไฟดับ
1. ค้นหาต้นเหตุของไฟดับ
ไฟดับทำไง? คงเป็นคำถามแรก ๆ ในใจเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ การค้นหาต้นเหตุของไฟดับ จะช่วยให้เราได้รู้ว่าปัญหาไฟดับที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากภายในบ้านหรือเกิดจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เพื่อจะได้รู้วิธีรับมือและแก้ไขกันต่อไป
2. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดอยู่ทั้งหมด
การปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังจากไฟดับนั้น จะช่วยให้ถนอมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ดี เพราะเมื่อไฟฟ้ากลับมา อาจทำให้เกิดอาการไฟกระชากที่จะมีผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เสียหายได้ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการไฟฟ้าที่เสถียรอย่างมาก เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
3. หลีกเลี่ยงการเปิดตู้เย็น
การหลีกเลี่ยงไม่ให้อาหารสดเน่าเสียในตู้เย็นและช่องฟรีซ ต้องปิดประตูตู้เย็นให้สนิท เพื่อรักษาความเย็นที่เหลือให้ได้นานที่สุด ช่องแช่ธรรมดาจะสามารถเก็บอาหารสดให้เย็นได้ถึง 4 ชั่วโมง และช่องแช่แข็งเก็บได้นานถึง 1-2 วัน ที่สำคัญควรถอดปลั๊กตู้เย็นทันที เพื่อยืดอายุการใช้งานของตู้เย็น
4. เปิดประตู-หน้าต่างภายในบ้าน
การเปิดประตูและหน้าต่างภายในบ้าน ในเหตุการณ์ที่ไม่สามารถใช้งานพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ จะช่วยให้อากาศภายในบ้านถ่ายเทได้มากขึ้น
5. กักตุนน้ำไว้ใช้
เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าทำงานผิดปกติ การจ่ายน้ำประปาอาจจะติดขัดตามมาได้ แนะนำให้เติมน้ำใส่ถัง อ่างน้ำและขวดน้ำ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน
6. โทรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า
ไฟดับโทรแจ้งเหตุไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าขัดข้อง ไฟตก ได้ที่เบอร์ฉุกเฉินไฟฟ้านครหลวง (กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ) โทร. 1130 หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (จังหวัดอื่น ๆ) โทร. 1129 PEA Contact Center
อุปกรณ์ที่ใช้รับมือเมื่อเกิดไฟดับ
1. ป้ายทางออก
ไฟดับทำไง? ทางออกแรก ๆ เลยก็คือการติด ป้ายทางออก ที่มีความสำคัญอย่างมากในขณะไฟฟ้าดับ ไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟ เป็นสัญลักษณ์ให้เห็นตำแหน่งทางออกจากภายในอาคารไปยังทางออกสุดท้ายของอาคาร
2. ไฟฉุกเฉิน
และ ไฟฉุกเฉิน เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้แสงสว่างสำรองในพื้นที่ต่าง ๆ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับได้ดีมาก เพราะไฟฉุกเฉินจะช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน
3. อุปกรณ์อื่น ๆ
การจัดหาอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น แบตเตอรี่สำรอง เครื่องสำรองไฟ หลอดไฟแบบมีแบตฯ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ตะเกียง เทียนไข ไฟแช็ก ไม้ขีดไฟ พัดลมพกพา มาติดบ้านไว้หรืออาจจะรวมไปถึงน้ำดื่ม อาหารแห้ง ยารักษาโรคและชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น เผื่อกรณีที่ไฟดับนาน ๆ
สรุปไฟดับต้องทำยังไง
ไฟดับทำไง? หากเกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าภายในบ้านจนใช้งานไม่ได้ ก็คงจะทำให้การใช้ชีวิตยากขึ้นหลายเท่า แต่ถ้าระบบไฟฟ้าดี ก็จะยิ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับชีวิตของคุณ ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบันของคนเราเป็นอย่างมาก หากไม่สันทัดเรื่องของไฟฟ้า แนะนำให้ปรึกษาช่างไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของตัวคุณเอง