หากคุณสังเกตระบบป้องกันอัคคีภัยที่ติดตั้งไว้ตามโรงงาน อาคารสูง 2 ชั้นขึ้นไป รวมไปถึงสำนักงานที่มีคนทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จากเพลิงไหม้โดยไม่ทันตั้งตัว การติดตั้งระบบ fire protection system จึงเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ตามมาในภายหลัง ดังนั้น fire protection ได้ถูกติดตั้งไว้เพื่อแจ้งเตือนหากเกิดเพลิงไหม้ รวมไปถึงป้องกันการสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สินอีกด้วย
Fire Protection คืออะไร
fire protection system คือ ระบบที่ติดตั้งไว้สำหรับแจ้งเตือนเหตุหรือป้องกันเพลิงไหม้ ภายในอาคารโรงงาน เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน โดยบริษัทที่รับทำ fire protection จะวางแผนตั้งแต่ให้คำแนะนำเรื่องออกแบบ ติดตั้งระบบอัคคีภัยหรือระบบดับเพลิงในโรงงานให้ได้ตามกฎหมาย รวมไปถึงได้รับมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล
NFPA คืออะไร
NFPA ย่อมาจาก National Fire Protection Assosiation องค์กรชั้นนำของโลกที่สนับสนุนกิจกรรมด้านป้องกันอัคคีภัย ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1896 สำนักใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ภารกิจสำคัญของ NFPA คือ จัดทำและสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบหรือการป้องกันอัคคีภัย การให้ความช่วยเหลือประชากรในประเทศต่าง ๆ โดยใช้วิธีประชามติ การวิจัย ฝึกอบรมบุคลากรให้เข้าใจถึงระบบอัคคีภัย
มาตรฐานองค์กร NFPA เน้นการใช้รหัส Code หรือสี เพื่อแสดงถึงปัจจัยด้านอัคคีภัยรูปแบบต่าง ๆ ตามสถานการณ์ บทความนี้ขอยกตัวอย่างรหัสพร้อมสีที่สามารถใช้ได้จริงตามสถานการณ์เบื้องต้นดังนี้
- NFPA 1 ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับไฟ เช่น แหล่งกำเนิดไฟ อุปกรณ์ดับเพลิง
- NFPA 10 มาตรฐานสำหรับเครื่องดับเพลิงแบบพกพา
- NFPA 20 รหัสเกี่ยวกับระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
- NFPA 70 เกี่ยวกับไฟฟ้า มีสัญลักษณ์เตือนไว้หากเกิดอุบัติเหตุ
- NFPA 72 รหัสระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- NFPA 101 รหัสความปลอดภัยต่อชีวิต
- NFPA 220 แจ้งว่าเป็นไซต์ก่อสร้าง ต้องระมัดระวังสูง
Fire Protection มีประโยชน์อย่างไร
1. ช่วยให้ครอบครัว ทรัพย์สินของคุณปลอดภัย
fire protection ช่วยจับสัญญาณเพลิงไหม้ให้ทราบล่วงหน้า หากได้รับการติดตั้งเครื่องมือที่มีคุณภาพรวมทั้งตั้งค่าระบบป้องกันอัคคีภัยที่ดีแล้ว จะช่วยให้ครอบครัวของคุณ ทรัพย์สินภายในบ้านปลอดภัยด้วยดีทุกฝ่าย
2. ตรวจจับเพลิงไหม้ได้ทันที
fire protection systems ทำหน้าที่ตรวจจับอนุภาคของควันตลอดเวลา ไม่ต้องกังวลเรื่องระบบป้องกันอัคคีภัยจะเกิดปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากอนุภาคของควันเข้าไปทำปฏิกิริยากับ fire protection อยู่แล้ว อีกทั้งสายไฟสำหรับตรวจจับควันเป็นประเภทเคเบิลแบบ FPLR Shield Cable ที่ออกแบบเพื่องานนี้โดยเฉพาะ
มั่นใจได้ว่าจะตรวจจับเพลิงไหม้ได้ทันที
3. เพิ่มระยะเวลาการออกจากอาคารหากเกิดเพลิงไหม้
หากเกิดเหตุเพลิงไหม้จากอาคาร สำนักงานที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก fire protection จะมีระบบควบคุมควันไฟ สำลักควันไฟ ที่ช่วยชะลอการแพร่กระจายของควันได้ดี โดยใช้การอัดอากาศลงไปที่ทางหนีไฟ
โถงบันไดและโถงลิฟต์
4. ติดตั้งง่าย ราคาไม่แพงอย่างที่คิด
บริษัทที่มีประสบการณ์จะพิจารณา fire protection จากปลูกพื้นที่อาศัยเป็นหลัก ไม่ต้องกังวลว่าการติดตั้ง ระบบป้องกันอัคคีภัย จะมีราคาสูงแต่อย่างใด เพราะพิจารณาการใช้สอยพื้นที่สำหรับการแจ้งเตือนเป็นหลัก
หลักในการพิจารณาในการทำระบบ Fire Protection
การคำนวณติดตั้งระบบดับเพลิงรวมไปถึงระบบป้องกันอัคคีภัย ประเทศไทยจะพิจารณาระบบ Fire Protection ดูจากลักษณะฟังก์ชั่นการใช้งานอาคาร สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ตามกฎหมาย รวมไปถึงใช้หลักความรุนแรงของพื้นที่เมื่อเกิดอัคคีภัย แบ่งตามลักษณะได้ดังนี้
พื้นที่อันตรายน้อย
ได้แก่ ที่พักอาศัย สำนักงานทั่วไป ภัตตาคาร โรงภาพยนตร์ ศูนย์การประชุม (เว้นเวทีและหลังม่าน) โบสถ์ วัด วิหาร สถานศึกษา โรงพยาบาล ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์
พื้นที่อันตรายปานกลาง
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พื้นที่อันตรายปานกลางกลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยที่จอดรถยนต์ ห้องแสดงรถยนต์ โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตเครื่องดื่ม ร้านทำขนมปัง ร้านซักผ้า โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง
สำหรับประเภทพื้นที่อันตรายปานกลางกลุ่ม 2 ประกอบด้วย โรงงานผลิตสินค้าจากหนังสัตว์ ผลิตลูกกวาด สิ่งทอ ยาสูบ โรงงานประกอบโลหะ กระดาษ ร้านค้า ที่ทำการไปรษณีย์ ร้านซักแห้ง
พื้นที่อันตรายมาก
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มเช่นเดียวกัน ได้แก่ กลุ่มการใช้งานของเหลวติดไฟหริอของเหลวไวไฟน้อย ได้แก่ โรงซ่อมเครื่องบิน โรงผลิตไม้อัดและไม้แผ่น โรงพิมพ์ที่ใช้หมึกพิมพ์ที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 37.9 องศา โรงงานอุตสาหกรรมยาง โรงงานสิ่งทอจำพวก ฟอก ย้อม ปั่นฝ้าย เส้นใยสังเคราะห์
สำหรับกลุ่มการใช้งานเกี่ยวข้องกับของเหลวติดไฟหรือของเหลวไวไฟมาก ได้แก่ โรงงานผลิตยางมะตอย โรงพ่นสี โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานผลิตน้ำมันเครื่อง อุตสาหกรรมพลาสติก
ประเภทของการทำ Fire protection
การป้องกันอัคคีภัยวิธี Passive
เริ่นต้นด้วยการจัดวางผังเมืองให้ปลอดภัย โดยการเว้นระยะห่างจากเขตที่ดิน ป้องกันไฟลุกลามตามกฎหมาย เตรียมพื้นที่รอบอาคารเพื่อเข้าไปดับเพลิง ส่วนของการออกแบบอาคาร ควรให้ตัวอาคารมีความทนไฟ ออกแบบอาคารให้เข้าพื้นที่ดับเพลิงได้ง่าย อพยพคนได้สะดวกรวมไปถึงมีทางหนีไฟที่ได้ประสิทธิภาพ
การป้องกันอัคคีภัยวิธี Active
การใช้ระบบป้องกันอัคคีภัยเพื่อแจ้งเหตุเป็นระบบ โดยมีการป้องกันที่มีระบบ Fire Protection การควบคุมควันไฟ ระบบดับเพลิง รวมทั้งระบายควันไฟได้ดีอยู่ด้วยกัน ทั้งนี้จะแจ้งเตือนอย่างเป็นระบบ หากเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถเตรียมตัวได้ทัน สำหรับการป้องกันด้วยวิธี Active มีอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ดังนี้
1.Smoke Detector อุปกรณ์ตรวจจับควัน เป็นส่วนประกอบของ Fire protection ทำหน้าที่ตรวจจับควันไฟและคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อควันลอยขึ้นกระทบตัวเครื่อง จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนทันที ทั่วไปแล้วแบ่งได้เป็น 2 ประเภทการใช้งานที่มีลักษณะดังนี้
- ชนิดไอโอไนเซชั่น ทำหน้าที่กระตุ้นอากาศภายในให้แตกตัวเป็นไอออน ไอออนจะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าทำปฏิกิริยากับควันไฟ เมื่อปริมาณควันได้ตามกำหนดจะส่งเสียงเตือนทันที ตรวจจับควันที่มีอนุภาคเล็กกว่า 1 ไมครอนได้ดี
- ชนิดโฟโตอิเล็กทริก สามารถตรจจับควันได้มากกว่า 1 ไมครอนขึ้นไป เหมาะสำหรับการเกิดเพลิงไหม้ที่อากาศอับ มีหลักการทำงาน 2 รูปแบบคือ แบบหักเหของแสง ใช้หลักการทำงาน
ของแสง เมื่อควันลอยตัวขึ้น จะเกิดการหักเหของแสงไปยังตัวรับแสงของเครื่อง เพื่อให้ระบบทำงานต่อไป
อีกประเภทคือใช้ควันกีดขวางแสง ใช้แหล่งกำเนิดแสง ยิงเข้าไปที่ตัวรับแสงเมื่ออนุภาคควันเข้ามาในตัวเครื่องปริมาณหนึ่ง ลำแสงจะเข้าไปกีดขวาง แสงที่ส่องเข้าตัวจะมีค่าต่ำลงเรื่อย ๆ จนกว่าระบบจะเริ่มทำงาน
2.Fire Alarm ระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นส่วนประกอบของ Fire protection เช่นเดียวกัน การแจ้งเตือนมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น เสียง ไฟกระพริบหรือสัมผัส เพื่อแจ้งเตือนผู้อาศัยในบ้าน อาคาร รวมไปถึงสำนักงานที่มีคนรวมตัวเป็นจำนวนมาก เพื่อระมัดระวังเหตุฉุกเฉินได้ทันเวลา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- ระบบการแจ้งเหตุเป็นโซน ถูกติดตั้งในอาคารขนาดเล็ก โดยแบ่งพื้นที่การควบคุมของ
อาคารเป็นส่วน ๆ มีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานกำหนด เพื่อให้มีระยะค้นหาที่จุดเกิดเหตุได้ รู้ถึงพื้นที่การเกิดเหตุเป็นโซนกว้าง อาจตรวจสอบจุดเกิดเหตุอีกครั้ง หากไม่ทราบจุดเกิดเหตุโดยตรง - ระบบการแจ้งเหตุเป็นจุด สามารถบอกพื้นที่หรือตำแหน่งเพลิงไหม้โดยตรง ต้องใช้อุปกรณ์ที่ระบุตำแหน่งเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ด้วย
3.ป้ายทางออก ป้ายแสดงทางออก ทางหนีไฟ หากเกิดเหตุฉุกเฉินป้ายนี้จะทำหน้าที่อพยพผู้คนไปยังที่ปลอดภัย ขนาดมาตรฐานสำหรับป้ายทางออกประกอบด้วย ขนาดตัวหนังสือสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ป้ายต้องมีแสงสว่าง ไม่ควรใช้สีกลืนไปกับการตกแต่งป้ายที่ติดใกล้เคียงที่ทำให้ไม่ชัดเจน สำหรับป้ายที่นิยมใช้ทำทางออก มีตัวอย่างดังนี้
- ป้ายฉุกเฉินรูปแบบ GLA2 DELIGHT
- ป้ายฉุกเฉินรูปแบบ SUNNY รุ่น SNSL-10LED/D(C)-SD003
- ป้ายฉุกเฉินรูปแบบ แม็กไบรท์ Emergency Exit Sign
- ป้ายฉุกเฉินรูปแบบ MAX BRIGHT EXB 222
สรุปเกี่ยวกับ Fire Protection
fire protection มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ป้องกันอันตรายจากเพลิงไหม้ รวมไปถึงช่วยรักษาทรัพย์สินของท่านไว้อย่างดี ทั้งนี้หากสนใจติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย สามารถปรึกษาบริษัทผู้เชี่ยวชาญสายงานดังกล่าวตั้งแต่เริ่มพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ ไปจนถึงติดตั้งเครื่องมือ เพื่อให้ระบบ fire protection system ได้ทำงานอย่างเต็มกำลัง