Wide Area Network (WAN) คืออะไร มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับระบบ Network

Wide-Area-Networks-หรือ-แวน

Wide Area Networks หรือที่เรียกกันว่า แวน หรือ WAN คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบระยะไกลหลายกิโลเมตร การเชื่อมโยงของเครือข่ายแวนอาจจะเป็นระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ บริษัทใหญ่ที่มีสำนักงานหลายแห่งนิยมใช้ทั้งในการเชื่อมต่อข้อมูล การส่งและรับข้อมูลต้องผ่านตัวกลางเช่นดาวเทียมหรือสายเคเบิลขึ้นอยู่กับการใช้งานและขนาดของข้อมูล

เลือกหัวข้ออ่าน

Wide Area Network (WAN) ถูกออกแบบมาเพื่ออะไร

Wide Area Networks (WAN) นั้นถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานต่างๆ ที่มีข้อมูลสำหรับบริษัทที่ต้องเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล บริษัทส่วนใหญ่ใช้ WAN ดังนี้

  • สื่อสารในเครือข่ายของบริษัททั้งแบบเสียงและวิดีโอ
  • เข้าถึงข้อมูลและข้อมูลสำรองที่อยู่ในระยะไกล
  • โฮสต์แอปพลิเคชั่นที่ใช้ภายในบริษัท
  • แบ่งปันข้อมูลระหว่างลูกค้าและพนักงานของบริษัท
  • ใช้งานแอปพลิเคชั่นในระบบคลาวค์

Wide Area Networks ช่วยให้บริษัทมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยทำให้การดำเนินธุรกิจไม่เกิดการขัดข้อง

ระบบการส่งสัญญาณของ Wide Area Networks (WAN) มีกี่ประเภท ทำงานอย่างไร

Wide Area Networks ส่งและรับข้อมูล

ระบบการส่งสัญญาณของ Wide Area Networks แบ่งออกเป็นเครือข่ายสองประเภทใหญ่ๆ คือ เครือข่ายส่วนตัวหรือ Private Network และ เครือข่ายสาธารณะหรือ Public Data Network

Private Network (เครือข่ายส่วนตัว)

เครือข่ายส่วนตัว หรือ Private Network เป็นระบบเครือข่ายแวนที่ใช้ภายในบริษัทเท่านั้นโดยเฉพาะบริษัทที่มีหลายสาขา บริษัทจะสร้างระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อสำนักงานใหญ่กับสาขาต่างๆ ที่มีอยู่
ข้อดีของเครือข่ายส่วนตัวคือการเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทอีกทั้งบริษัทยังสามารถขยาย ควบคุมและดูแลเครือข่ายแวนของตนไปยังตามสาขาหรือจุดที่ต้องการได้ แต่ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายที่สูงมากเมื่อเทียบกับการใช้เครือข่ายสาธารณะในการส่งของข้อมูล
การที่ไม่ได้ส่งข้อมูลต่อเนื่องทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นอีกทั้งบริษัทยังต้องหาช่องทางตัวกลางในการเชื่อมโยงของแต่ละสาขาและอาจจะไม่สามารถหาตัวกลางไปยังสาขาหรือพื้นที่ที่ต้องการเชื่อมต่อได้

PDN: public data network (เครือข่ายสาธารณะ)

เครือข่ายสาธารณะ หรือ Public Data Network (PDN) เป็นเครือข่ายแวนที่มีบริษัทที่เป็นบุคคลที่สาม ทำหน้าที่ในการเดินระบบของเครือข่ายแวนอีกทั้งยังให้บริการเช่าช่องทางตัวกลางในการสื่อสารกับบริษัท
ข้อดีคือค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการสร้างระบบเครือข่ายส่วนตัวเพราะมีหลายบริษัทมาช่วยแบ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วเพราะไม่ต้องเสียเวลาสร้างเครือข่ายใหม่ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากกับหลายๆ บริษัท บริษัทยังเลือกบริการตามราคา พื้นที่บริการ และความเร็วของการส่งข้อมูลที่เหมาะสมกับความต้องการของบริษัทอีกด้วย

โปรโตคอล Wide Area Networks (WAN) คืออะไร

โปรโตคอลของ Wide Area Networks มีหลายโหมดขึ้นอยู่กับการใช้งานและความสามารถในส่งข้อมูลต่อระยะทาง ตัวอย่างโปรโตคอลของแวนที่มีใช้กันมีดังนี้

โหมดถ่ายโอนข้อมูลแบบอะซิงโครนัส

Asynchronous Transfer Mode (ATM) หรือ โหมดถ่ายโอนข้อมูลแบบซิงโครนัสเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในยุคแรกๆ ของแวน เป็นโหมดที่ใช้การส่งจากการจัดระเบียบข้อมูลลงในเซลล์ รองรับเซลล์ที่มีขนาด 53 ไบต์ การใช้มัลติเพล็กซ์เพื่อนำข้อมูลในเซลล์จากหลายๆ ที่มาร่วมอยู่ในที่เซลล์เดียว ATM รองรับข้อมูลทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น วิดีโอ ภาพและเสียง

SONET/SDH

Synchoronous Optical Network (SONET) หรือ Synchoronous Digital Hierarchy (SDH) เป็นโปรโตคอลการสื่อสารที่ใช้เป็นหลักในการขนส่งบนระบบแวนโดยกำหนดแบบการสื่อสารเป็นจุดต่อจุดและต้องมีการใช้ไฟเบอร์ออปติกหรือใยแก้วแสงเป็นตัวเชื่อมต่อ

TCP/IP

Transmission Control Protocol/Internet Protocol หรือ TCP/IP เป็นโปรโตคอลการสื่อสารพื้นฐานจากต้นทางถึงปลายทางบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ พร้อมกับเป็นโปรโตคอลที่ใช้เชื่อมต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เวอร์ชันล่าสุดที่มีการใช้กันมากคือ IPv6

Frame Relay

เฟรมรีเลย์ หรือ Frame Relay เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลระหว่าง LAN หรือ ปลายทางของระบบแวน โดยมีการรวมข้อมูลเป็นรูปแบบเฟรมและส่งผ่านเครือข่ายที่ใช้ร่วมกัน Frame Relayทำงานเป็นเลเยอร์เพื่อให้การถ่ายโอนข้อมูลสะดวกขึ้น

องค์ประกอบของ Wide Area Networks (WAN) คืออะไร

องค์ประกอบ Wide Area Networks แวน

องค์ประกอบของWAN network มีทั้งหมด 7 อย่างและอิงตามโมเดล Open Systems Interconnection (OSI) ซึ่งเป็นโมเดลที่สร้างมาตรฐานและกำหนดแนวทางของระบบโทรคมนาคม โมเดล OSI นั้นรวมเทคโนโลยีเครือข่ายทั้ง7 ซึ่งแตกต่างกันและทำงานต่างกันแต่พอจับมารวมเข้ากันจะทำให้แวนทำงานได้ 7 องค์ประกอบมีดังนี้

– องค์ประกอบทางด้านกายภาพ
องค์ประกอบทางด้านกายภาพเป็นการโอนและโยกย้ายข้อมูลดิบในรูปแบบ สัญญาณออปติคัล คลื่นแม่เหล็กไฟ้าหรือบิตเลขโดยผ่านสื่อการส่งสัญญาณเครือข่ายต่างๆ ตัวอย่างเช่นเทคโนโลยีไร้สายและไฟเบอร์ออปติกหรือใยแก้วแสง

– องค์ประกอบด้านลิงก์ข้อมูล
องค์ประกอบด้านลิงก์ข้อมูลคือโปรโตคอลหรือกฎการสื่อสารที่ใช้ในการทำงานขององค์ประกอบทางด้านกายภาพ องค์ประกอบด้านลิงก์ข้อมูลกำหนดและตัดสินว่าจะเริ่มเชื่อมต่อหรือหยุดการเชื่อมต่อเมื่อไรและการทำงานขององค์ประกอบนี้ยังส่งผลถึงการส่งแพ็กเก็ตจากอุปกรณ์หนึ่งไปถึงอีกอุปกรณ์หนึ่ง

– องค์ประกอบด้านเครือข่าย
องค์ประกอบด้านเครือข่ายเป็นตัวจัดการและสร้างกฎเกณฑ์การเดินทางของแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านเครือข่าย โดยจะกำหนดว่าต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อเกิดการสูญเสียของข้อมูล ช่วยเรื่องการปรับสมดุลของเครือข่ายและกำหนดเส้นทางของแพ็กเก็ต

– องค์ประกอบด้านการขนส่ง
องค์ประกอบด้านการขนส่งกำหนดการทำงานและขั้นตอนการส่งข้อมูลพร้อมทั้งจัดประเภทของข้อมูลและอาจจะบรรจุข้อมูลลงในแพ็กเก็ตเพื่อง่ายต่อการส่งข้อมูลเพื่อการถ่ายโอนข้อมูลนั้น Transmission Control Protocol (TCP) นั้นจะจัดการการสื่อสารโดยการเรียงแพ็กเก็ตที่เป็นคำขอและการตอบสนองเมื่อมีการเข้าเว็บไซต์การจองต่างๆ 

– องค์ประกอบด้านเซสชัน
องค์ประกอบด้านเซสชัยเป็นตัวจัดการเรื่องเซสชันและการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันประจำที่กับระยะไกลและยังสามารถเปิด ปิด และยกเลิกการเชื่อมต่อของสองอุปกรณ์ ตัวอย่างขององค์ประกอบด้านเซสชันคือ การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ที่บ้านและเซิร์ฟเวอร์ของสำนักงานใหญ่ที่มีข้อมูลระบบการจอง องค์ประกอบด้านเซสชัยเป็นตัวเปิดการเชื่อมต่อหลังจากได้รับการยืนยัน เป็นการเชื่อมต่อตามหลักตรรกวิทยาและไม่ใช่การเชื่อมต่อตรงตามวัตถุ

– องค์ประกอบด้านการนำเสนอ
องค์ประกอบด้านการนำเสนอเป็นเตรียมและนำเสนอข้อมูลที่กำลังส่งผ่านในเครือข่าย เช่นต้องมีการเข้ารหัสผ่านเพื่อมิให้อาชญากรไซเบอร์ที่ค่อยเฝ้าดูในระบบแวนเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและละเอียดอ่อนได้

– องค์ประกอบด้านแอปพลิเคชัน
องค์ประกอบด้านแอปพลิเคชันเป็นตัวกำหนดวิธีที่ผู้ใช้จะใช้งานยังไงในเครือข่ายโดยไม่ได้สนใจว่าการทำงานของเครือข่ายนั้นจะเป็นยังไง เช่นการจัดการแปลงของโซนเวลา การส่งคำเชิญ และแอปพลิเคชันอื่นๆ ในระบบการจองปฏิทินในบริษัท

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Wide Area Networks (WAN) คืออะไร

เพิ่มประสิทธิภาพของ Wide Area Networks

วิธีทำให้ประสิทธิภาพของ Wide Area Networks (WAN) ให้ดีขึ้น เป็นการรวมเทคนิควิธีที่ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบ WAN ที่เกี่ยวกับ ความหนาแน่นของข้อมูล ปริมาณงานต่อหน่วยเวลา การวัดความล่าช้า การออกแบบของระบบ WAN และ การจัดทิศทางการรับส่งของข้อมูล ล้วนมีผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของ WAN เทคนิคและวิธีที่ใช้กันส่วนมากในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ WAN มีดังนี้

กำจัดการเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อที่มากเกินไปทำให้ระบบอาจทำให้ระบบเกิดความล่าช้าได้ดังนั้นผู้ดูแลระบบเครือข่าย WANต้องสามารถกำจัดจำนวนการเชื่อมต่อ จำนวนผู้ใช้ กำหนดจำนวนปริมาณการรับและการส่งข้อมูลหรือแบนวิทที่ผู้ใช้แต่ละคนสามารถใช้ได้ต่อครั้ง เช่นการตั้งกฎเพื่อป้องกันการสตรีมวิดีโอของพนักงานบริษัทบนระบบ WAN ของบริษัทได้

แบ่งเซกเมนต์ของระบบเครือข่าย

การแบ่งแบนวิทในเครือข่ายระหว่างแอปพลิเคชันต่างๆ พร้อมกับกำหนดรูปแบบการรับ-ส่งของข้อมูลจะจัดทิศทางและควบคุมการรับ-ส่งของข้อมูลสำหรับแอปพลิเคชันนั้นได้อย่างเหมาะสม ผู้ควบคุมระบบเลือกลำดับความสำคัญของแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของ WANดีขึ้น

เร่งโปรโตคอล

โปรโตคอลบางตัวของ WAN มีการรับส่งข้อมูลที่ถี่และจำนวนมาก ในการส่งคำขอหนึ่งคำขอจะมีการโต้ตอบของข้อมูลไปมาอย่างมาก ดังนั้นการเร่งโปรโตคอลจะทำการรวบข้อมูลที่มีจำนวนมากและลดจำนวนแพ็กเก็ตข้อมูลที่อยู่บนเครือข่าย WAN

จัดทิศทางให้กับการรับส่งข้อมูล

การจัดทิศทางให้กับการรับส่งข้อมูลเป็นการลดปริมาณข้อมูลที่จะส่งผ่านในเครือข่าย เทคนิคที่ใช้กันมีดังนี้

  • การซิปหรือการบีบอัดไฟล์ข้อมูล
  • การแคชข้อมูลที่มีการเข้าถึงและใช้บ่อยครั้งบนเซิร์ฟเวอร์ท้องถิ่น
  • การระบุและลบสำเนาข้อมูลซ้ำซ้อนสำหรับการสำรองข้อมูลและแอปพลิเคชันการกู้คืนข้อมูล

สรุป

Wide Area Networks (WAN) หรือ เครือข่ายวงกว้างนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อบริษัทใหญ่ที่มีสำนักงานใหญ่และสาขาหลายที่ บริษัทเหล่านี้มีความต้องการที่จะรับส่งข้อมูลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา สาขากับสาขา หรือพนักงานกับลูกค้าของบริษัท

WAN ยังเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อสำนักงานใหญ่ สาขา แอปพลิเคชันบนคลาวด์ ศูนย์ข้อมูลและที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์เข้าด้วยกัน ทำให้การทำงานของบริษัทดีขึ้นบวกกับการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยทำให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น