วิธีการต่อสายเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ในระบบแลนนั้นจะเรียกว่า “การเดินสายแลน” นิยมแบ่งเป็น 3 วิธีคือ
1.เดินสายแบบบัส
2.เดินสายแบบริง
3.เดินสายแบบสตาร์
ซึ่งในปัจจุบันจะพบการเชื่อมต่อแบบสตาร์ มากที่สุดเพราะ สามารถตรวจสอบหาข้อผิดพลาดได้ง่าย แต่วิธีการวางระบบแลนแบบอื่นก็น่าสนใจเช่นกัน มาดูวิธีการเดินสายในแต่ละแบบ
1.การเดินสายแบบบัส
การเดินสายแบบบัสจะเหมือนกับการวางเส้นหลักแล้วมีเส้นแยกเข้าไปที่ PC ดังรูปที่ 1 โดยจะวางสายแลนเดินเป็นแกนกลางที่เรียกว่าบัสหรือแบ็กโบนเป็นเส้นหลัก แล้วตามจุดต่างๆ ระหว่างกลางของแบ็คโบนจะมีสายเชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือน ที่ปลายสายทั้งสองข้างจะมีเทอร์มิเนเตอร์ต่ออยู่
รูปที่ 1 การเดินสายแบบบัส
2.การเดินสายแบบริง
การเดินสายแบบริงหรือแบบวงแหวนจะเดินสายเป็นวง จากเครื่องแรกไปยังเครื่องสุดท้ายและวนกลับมายังเครื่องแรกอีกครั้ง ดังรูปที่ 2 การเดินสายแบบนี้มีในระบบเครือข่ายมานานแล้วแต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากหากจุดใดจุดหนึ่งในวงขาดจะทำให้เครื่องอื่นไม่สามารถส่งข้อมูลได้และอุปกรณ์มีราคาค่อนข้างสูง แต่การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการส่งข้อมูลความเร็วสูงอีกวิธีหนึ่ง
รูปที่ 2 การเดินสายแบบริง
3.การเดินสายแบบสตาร์
ระบบแลนที่เชื่อมต่อในลักษณะสตาร์นั้นสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป คือระบบที่คอมพิวเตอร์ โดยแต่ละเครื่องจะมีสายแลนเชื่อมไปที่ฮับที่เป็นตัวกลาง และหากเดินสายตรงออกจากฮับไปยังเครื่องที่ตำแหน่งต่างๆจะมีลักษณะคล้ายดาว จึงเรียกว่าการเชื่อมต่อแบบสตาร์ ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 รูปการเดินสายแบบสตาร์
เมื่อรู้แล้วว่าการติดตั้งระบบแลนมีรูปแบบใดบ้างแล้ว หากต้องติดตั้งสายแลน ก็มีหลายบริษัทที่รับเดินสายแลนอยู่มากมาย ลองเลือกพิจารณากันดูตามความเหมาะสมในการใช้งานนะ