ทดสอบสาย Lan ด้วยเครื่อง DTX-1800 ออก Report สาย Lan

ทดสอบสาย Lan ด้วยเครื่อง DTX-1800 ออก Report สาย Lan

ทดสอบสาย Lan ด้วยเครื่อง DTX-1800

บริการรับทดสอบสาย Lan ด้วยเครื่อง DTX-1800    ออก Report สาย Lan
สนใจติดต่อ 081-839-0789 หรือ 02 0676 839
E-mail : [email protected]

Ethernet LAN

                หากต้องการสร้างเครือข่ายเพื่อใช้งานในสำนักงาน หรือสำหรับให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เป็นช่อง ทางการสือสารข้อมูลถึงกัน จะต้องรู้อะไรบ้าง

                การทำให้เครืองคอมพิวเตอร์สื่อสารข้อมมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่ามี เทคโนโลยีใดบ้างที่สามารถนำมาสร้องเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน Ethernet LANเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน เนื่องจากให้ความเร็วสื่อสารที่สูง ราคาอุปกรณ์ค่อนข้างถูก และหาซื้อได้ง่าย

Ethernet LAN

 

Fast Ethernet

                เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่มีความเร็วสื่อสารข้อมูล สูงสุด 100 Mbps แบ่งเป็น  3 ประเภท คือ 100BaseTX, 100BaseFX และ 100BaseT4  ซึ่งการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในบ้าน หรือ สำนักงานส่วนใหญ่จะใช้เทคโนโลยี Fast Ethernet 100BaseTx ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างการเชื่อมต่อทางกายภาพแบบ Star โดยใช้  Hub หรือ Switch ทำหน้าที่เป็นการเชื่อมโยงและใช้สายสัญญาณ UTP CAT5 เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ADSL Router ,Access Point, Print Server  ฯลฯ เข้าสู่ Hub/Switch อีกที สายสัญญาณ UTP ที่ใช้จะต้องยาวไม่เกิน 100 เมตร ตามมาตรฐาน

Fast Ethernet
Fast Ethernet

รูป 1 ลักษณะทางกายภาพการเชื่อมต่อของเครือข่าย Fast Ethernet  100BaseTX

Gigabit Ethernet

                เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่มีความเร็วสื่อสารข้อมูลสูงสุดถึง 100 Mbps หรือมีความเร็วเป็น 10 เท่าของ Fast Ethernet แบ่งเป็น  2  มาตรฐานใหญ่ๆ คือ IEEE802.3z และ IEEE802.3ab โดยสำนักงานส่วนใหญ่นิยมใช้เทคโนโลยี Gigabit Ethernet แบบ 1000BaseT ลักษณะโครงสร้างการเชื่อมต่อทางกายภาพแบบ Star และใช้สัญญาณ UTP CAT5e หรือสูงกว่า (ปัจจุบันมีถึง CAT7)

Gigabit Ethernet
Gigabit Ethernet

รูป2 ลักษณะทางกายภาพการเชื่อมต่อของเครือข่าย Gigabit Ethernet  1000BaseT

                จากภาพจะเห็นความแตกต่างระหว่าง Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ยังมีความคล้ายคลึงกันสำหรับ Gigabit Ethernet  อุปกรณ์ที่ใช้งานต้องรองรับเทคโนโลยี Gigabit Ethernet   และใช้สัญญาณ UTP CAT5e ซึ่งจะสารมารถสื่อสารข้อมูลได้เร็วสูงสุด 1000 Mbps (1Gbps)

อุปกรณ์สำหรับ Ethernet LAN
LAN/Network Card

 NIC (Network Interface Card) เป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ จะประกอบไปด้วย RJ-45 สำหรับเชื่อมต่อ สายสัญญาณ UTP เข้ากับ Ethernet Switch เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบได้ และMain board ในปัจจุบัน ก็มี NIC แบบ Built-in ติดมาด้วยแล้ว และยังรองรับเทคโนโลยี Gigabit Ethernet  ด้วย
Transfer Rate คือ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง ความกว้างของบัส (Bus width) กับความเร็วสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) เพื่อใช้หาค่า Bandwidth ที่เป็นตัวชี้วัดที่ดีว่า อุปกรณ์ทำงานได้รวดเร็วแค่ไหน? ดังสูตรต่อไปนี้

เช่น PCI Slot มีบัสกว้าง 32 bits ทำงานที่ความเร็ว 33.33 MHz เพราะฉะนั้น จะมีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 133 Mbps

Ethernet   Switch

                ทำหน้าที่เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ เข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับHub และยังมีหน้าตาคล้ายกัน จนบ้างครั้งหลายคนคิดว่า Switch และ Hub เป็นอุปกรณ์ตัวเดียวกัน  แต่จริงๆ แล้วแตกต่างกัน

Cable

สายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่ระบบ Ethernet จะใช้สายสัญญาณแบบตีเกลียวที่ประกอบไปด้วยสายทองแดงจำนวน 4 คู่ตีเกลียวเข้าด้วยกันตลอดทั้งเส้น เรียกว่า สายสัญญาณชนิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair; UTP) ประกอบด้วย 3 ส่วน ดั้งนี้

  •  ด้านนอก จะเป็นพลาสติกห่อหุ้ม
  •  ชั้นถัดมาเป็นส่วนของสายทองแดงเส้นเล็กๆ 8 เส้น ที่มีพลาสติกห่อหุ้ม และมีโค๊ดสี
  •  แกนด้านในของสายเป็นลวดทองแดงสำหรับนำสัญญาณ

CATEGORY 1(CAT1)

เป็นสายที่ใช้ในระบบโทรศัพท์อย่างเดียว โดยสายนี้ไม่สามารถใช้ในการส่ง ข้อมูลแบบดิจิตอลได้

CATEGORY 2(CAT2)

เป็นสายที่สามารถส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ได้ถึง 4 MHz ใช้ในระบบ Token Ring

CATEGORY 3(CAT3)

เป็นสายที่สามารถส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้ถึง 16 Mbps และมีสายคู่บิดเกลียวอยู่ 4 คู่นิยมใช้ในระบบ Ethernet(10BaseTX)

CATEGORY 4 (CAT4)

เป็นสายที่สามารถส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้ถึง 20 Mbps และมีสายคู่บิดเกลียวอยู่ 4 ใช้ในระบบ Token Ring

CATEGORY 5(CAT5)

เป็นสายทองแดงตีเกลียวที่ใช้ในระบบ Ethernet LAN ที่มีความเร็วปานกลาง มีความเร็วสื่อสารข้อมูลสูงสุดที่ 100 Mbps และนิยมใช้ในระบบ Fast Ethernet ระยะไม่เกิน100 เมตร

 CATEGORY 5 Enhanced (CAT5e)

เป็นเช่นเดียวกับ Cat 5 แต่มีคุณภาพของสายที่ดีกว่า เพื่อรองรับการส่งข้อมูลแบบ Full Duplex มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูงสุดที่ 1,000 Mbps ระยะไม่เกิน 100 เมตร
ข้อแตกต่างระหว่าง Cat5 และ Cat 5e คือการบิดเกลียวของ Cat5e จะมีบิดเกลียวที่ถี่กว่า และมีการป้องกันสัญญาณรบกวนที่ดีกว่า

CATEGORY 6(CAT6A)

มี 2 ลักษณะ คือสายที่เป็นแบบอ่อน และ แบบแข็ง ซึ่งมีชื่อเรียกและลักษณะการใช้งานเช่นเดียวกับ CAT5e โดย CAT6A จะมีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูงสุดที่ 10Gbps ระยะไม่เกิน 100 เมตร ข้อแตกต่างระหว่าง CAT5e และ CAT6A คือ CAT6A ภายในจะมีแกนพลาสติกกั้นสายทั้ง 4 คู่ออกจากกัน

CATEGORY 7(CAT7A)

จะมีลักษณะเช่นเดียวกับ CAT6A แต่มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูงสุดถึง 40Gbps ในระยะไม่เกิน 50 เมตร

RJ-45

                หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว ไม่หุ้มฉนวน หรือ สาย UTP  มี 2 ชนิด  ได้แก่

  • RJ-45 Jack Plug(ตัวผู้)

                เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวยึดสาย ถ้าหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัว ต่อ พินที่ 1 จะอยู่ทางด้านขวามือ ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางซ้ายมือ

RJ-45 Jack Plug(ตัวผู้)
RJ-45 Jack Plug(ตัวผู้)
  • RJ-45 Jack Face(ตัวเมีย)

                 มีลักษณะเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้วซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณ

RJ-45 Jack Face(ตัวเมีย)
RJ-45 Jack Face(ตัวเมีย)

Crimping and Punch down Tools

                คีมสำหรับเข้าหัว RJ-45 สามารถปลอกฉนวนหุ้มสาย UTP ขลิบสาย UTP และบีบหัวได้อย่างสะดวก

คีมสำหรับเข้าหัว RJ-45 สามารถปลอกฉนวนหุ้มสาย UTP ขลิบสาย UTP และบีบหัวได้อย่างสะดวก
คีมสำหรับเข้าหัว RJ-45

และเครื่องกดสายส่วนใหญ่มักจะมีกรรไกรด้วย ทำให้สะดวก เพียงแค่เรียงสาย และกดลงไปสายส่วนที่เกินมา จะถูกตัดทิ้งไปทันที

เครื่องกดสายส่วนใหญ่มักจะมีกรรไกรด้วย ทำให้สะดวก เพียงแค่เรียงสาย และกดลงไป
เครื่องกดสาย

Cable Tester
เป็นเครื่องมือสำคัญที่มีไว้ใช้ตรวจสอบสัญญาณ UTP ก่อนที่จะนำไปเชื่อมต่อกับระบบจริงและยังช่วยวิเคราะห์ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายได้ด้วย เช่น ความเร็วต่ำกว่าที่ควร เป็นต้น
ปกติมีฟังก์ชันการตรวจสอบ ดังนี้

  • ความถูกต้องการเรียงสายสัญญาณ
  • ชนิดของสายสัญญาณเป็นแบบตรง (Straight Through Cable) หรือแบบไขว้ (Cross Cable)
  • ความเร็วที่สายสามารถรองรับได้ (บางรุ่น)
  • ความยาวของสายสัญญาณ (บางรุ่น)
  • คุณภาพของสายสัญญาณ (บางรุ่น)
  • วิเคราะห์โปรโตคอลและปริมาณข้อมูล (บ้างรุ่น)
  • วิเคราะห์ลักษณะการเชื่อมต่อกายภาพ (บางรุ่น)
Cable Tester เป็นเครื่องมือสำคัญที่มีไว้ใช้ตรวจสอบสัญญาณ UTP ก่อนที่จะนำไปเชื่อมต่อกับระบบจริง
Cable Tester

การอ่านผลการทดสอบ จาก Cable Tester
American Standard wire Gauge (AWG)

เป็นขนาดของลวดมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา บ้านเรานิยม เรียกว่า ลวดเบอร์ต่างๆ เช่น 24 AWG

การอ่านผลการทดสอบ จาก Cable Tester American Standard wire Gauge (AWG)
Cable Tester American Standard wire Gauge (AWG)

Wire Map
                แสดงการเข้าหัว RJ-45 หากเป็น “PASS” แสดงว่า เข้าหัวตรงกัน (Straight Though Cable) และหากเป็น “FAIL”แสดงวาเข้าหัวต่างกัน(Cross Cable)
Resistance
                เป็นค่าความต้านทางของสายสัญญาณ มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohms)
Length
                ความยาวของสายสัญญาณที่ใช้แต่ละจุด เริ่มตั้งแต่สาย Patch Panel ในตู้ RACK จนถึงสาย Patch Panel ที่ต่อเข้ากับ Work Station สามารถเดินสายสัญญาณได้ไกลที่สุด 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ดี

Propagation Delay
                เป็นค่าของเวลาที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นทางมาถึงปลายทาง ที่สายแต่ละคู่ใช้ มีหน่วยเป็น Nanosecond (ns,10-9 second) โดยไม่ควรมีค่าเกิน 555 ns.
Delay Skew
                เป็นค่าความแตกต่างของเวลา ที่ใช้ในการสื่อสารเทียบกับสานสัญญาณคู่ที่ใช้เวลาน้อยที่สุด หรือเป็นค่าความล่าช้าในการได้รับสัญญาณที่ส่งมาของแต่ละคู่โดยที่เวลาที่ใช้ในการสื่อสารของแต่ละคู่จะต้องไม่ต่างกันเกิน 50 ns หากเกินช่วงเวลานี้อาจทำให้การติดต่อสื่อสารผิดพลาดได้
Insertion Loss
                เป็นค่าการสูญเสียเนื่องจากสัญญาณรบกวน

Impedance
          เป็นค่าความต้านทานของขดลวดของสายสัญญาณแต่ละคู่ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohms) เนื่องจากสายสัญญาณมีการตีเกลียวของแต่ละคู่สาย ทำให้เกิดค่าความต้านทานจากการขดและพันกัน ต้องอยู่ในช่วง 85-115 Ohms
Return Loss
                เป็นค่าลดทอนของสัญญาณที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ค่า Impedance ภายในสาย จึงทำให้เกิดการลดทอน และเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ โดยค่าที่วัดไดควรมากกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
Near End Crosstalk
                เป็นค่าสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคู่สายสัญญาณแต่ละคู่กระทำกัน(สัญญาณรบกวนข้ามคู่สาย) โดย บริเวณที่เกิดสัญญาณรบกวนมากที่สุดจะอยู่บริเวณต้นทาง NEXT ที่วัดได้ต้องมีค่ามากกว่า Limit จึงจะผ่าน ผลทดสอบจะแสดงเฉพาะความถี่ที่มีค่า Margin น้อยที่สุด (worst case) ของแต่ละคู่สาย ซึ่งค่าที่วัดได้ควรมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

Power Sum Near End Crosstalk
                เป็นค่าการรบกวนของสัญญาณระหว่างคู่สายสัญญาณคู่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบ สัญญาณคู่นั้นๆ เหมาะสำหรับระบบที่มีการใช้งานสายสัญญาณพร้อมกัน 4 คู่สาย โดยมีค่าไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

ACR
                เป็นค่าที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง Attenuations และ NEXT ซึ่งแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณ โดยดูจากผลของค่าลดทอนและการรบกวนจากสายนอกควบคู่กัน ซึ่งค่า ACR ที่มากกว่ามาตรฐานจะทำให้รับส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
PSACR
                เป็นค่าที่แสดงอัตราส่วน ACR ที่ได้รับการรบกวนจากคู่สายอื่นที่ทำการวัดร่วมด้วย โดยผลที่ได้จะไม่คำนึงถึงค่า PSNEXT ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด

Equal level far End Crosstalk
                ซึ่งเป็นผลของการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่น ที่ทำงานทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยทำการวัดการรบกวนชนิดชี้ ทางด้านปลายทาง ซึ่งต่างกับ NEXT ที่ทำการวัดการรบกวนทางด้านต้นทาง ซึ่งค่ารบกวนมาค่ามากกว่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับ NEXT
PSELFEXT
                เป็นผลรวมของการทดสอบแบบ ELFEXT โดยเป็นการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่นรบกวนสายสัญญาณที่ทำการทดสอบ ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด

มาตรฐานการจัดเรียงสายสัญญาณ
TIA/EIA 568A และ TIA/EIA 568B

                TIA/EIA 568A (ISDN) และ TIA/EIA 568B (TT&T) เป็นมาตรฐานการจัดเรียงสาย UTP ที่ใช้เชื่อมโยงอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย Ethernet LAN การจัดเรียงสีสายสัญญาณตามมาตรฐานจะช่วยทำให้สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สายภายในหักล้างกันเอง จึงไม่ส่งผลกระทบต่อข้อมูลที่อยู่บนสาย

มาตรฐานการจัดเรียงสายสัญญาณ TIA:EIA 568A และ TIA:EIA 568B
TIA:EIA 568A และ TIA:EIA 568B

การเข้าหัวแบบตรง (Straight Through Cable)
                เป็นการเชื่อมต่อแบบต่างอุปกรณ์ เช่น การใช้สายต่อระหว่าง Computer กับ Switch หรือ  และใช้เชื่อมโยงระหว่าง Hub หรือ Switch แบบ Cascade ผ่านพอร์ต Up link วิธีการ สามารถเลือกใช้มาตรฐาน ISDN หรือ TT&T ก็ได้ เพียงแค่ปลายสายสัญญาณทั้งสองด้านต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน แต่ผมแนะนำให้เลือกใช้มาตรฐาน TT&T แทน เพราะถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานเมื่อปี ค.ศ.2002 ซึ่งใหม่กว่า ISDN ที่ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานเมื่อปี ค.ศ.1995

การเข้าหัวแบบตรง (Straight Through Cable)
การเข้าหัวแบบตรง (Straight Through Cable)

การเข้าหัวแบบไขว้ (Cross Cable)
                เป็นการเข้าสายแบบเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น Hub to Hub, Switch to Switch, Computer to Computer เป็นต้น ซึ่งวิธีการเข้าหัวแบบไขว้ คุณจะต้องให้ปลายด้านหนึ่งใช้การจัดเรียงสายตามมาตรฐาน ISDN และอีกทางหนึ่งใช้การจัดเรียงสายตามมาตรฐาน TT&T

การเข้าหัวแบบไขว้ (Cross Cable)
การเข้าหัวแบบไขว้ (Cross Cable)

ทฤษฏีเบื้องต้นของสายสัญญาณ UTP

ทฤษฏีเบื้องต้นของสายสัญญาณ UTP
ทฤษฏีเบื้องต้นของสายสัญญาณ UTP

คู่มือการใช้งานเครื่องทดสอบสายสัญญาณ FLUKE Networks
รุ่น DTX-1800 Cable Analyzer

โหมด AUTO TEST


 Change Media
                มีหน้าที่ในการเปลี่ยนหรือเลือกสายที่ เราจะทำการทดสอบ หลังจากที่เราทำการเลือกสายที่จะทดสอบแล้ว ต่อไป เราก็ทำการทดสอบสายโดยการกดที่ ปุ่ม Test หลังจากนั้นเครื่องก็จะทำการทดสอบสายโดยขึ้นหน้าจอ Testing,


Wire Map:
                แสดงการเข้าหัว RJ-45 กับสายสัญญาณในแต่ละขา หากเข้าหัวถูกต้องหรือตรงกันทั้งหัวและท้ายจะแสดงผลเป็น “PASS” ในทางตรงกันข้ามหากเข้าหัวผิดหรือเกิดการไขว้กัน (cross “x”)ของสายสัญญาณจะแสดงเป็น “FAIL”

Resistance:
                เป็นค่าความต้านทานของสัญญาณ มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohms)
Length:
                คือความหมายของสายสัญญาณที่ใช้แต่ละจุด เริ่มตั้งแต่สาย Patch Panel ในตู้ RACK จนถึงสาย Patch Panel ที่ต่อเข้ากับ Work Station : สามารถเดินสายสัญญาณได้ไกลที่สุด 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ดี

Prop. Delay:
                เป็นค่าของเวลาที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นทางมายังปลายทาง
(Propagation Delay) ที่สายแต่ละคู่ใช้มีหน่อยเป็น nanosecond
(ns,10-9 second) โดยไม่ควรมีค่าเกิน 555 ns.

Delay Skew :
                เป็นค่าความแตกต่างของเวลา ที่ใช้ในการสื่อสารเทียบกับสายสัญญาณ
คู่ที่ใช้เวลา น้อยที่สุด หรือเป็นค่าความล่าช้าในการได้นับสัญญาณที่
ส่งมาของแต่ละคู่โดยที่เวลาที่ใช้ในการสื่อสารของแต่ละคู่จะต้อง
ไม่ต่างกันเกิน 50 ns หากเกินช่วงเวลานี้อาจทำให้การติดต่อสื่อสาร
ผิดพลาดได้

Insertion Loss:
                เป็นค่าการสูญเสียเนื่องจากการใส่แทรก

Return Loss:
                เป็นค่าลดทอนของสายสัญญาณที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลง
ค่า Impedance ภายในสาย จึงทำให้เกิดการลดทอด และเกิดสัญญาณ
สะท้อนกลับ โดยค่าที่วัดได้ควรมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

NEXT:
                Near End Crosstalk เป็นค่าสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคู่สายสัญญาณแต่
ละคู่กระทำกัน (สัญญาณรบกวนข้ามคู่สาย) โดยบริเวณที่เกิดสัญญาณ
รบกวนมากที่สุดจะอยู่บริเวณต้นทาง NEXT จะมีค่าเป็นลบในทาง
ทฤษฏี แต่ค่าที่แสดงในผลทดสอบจะออกมาเป็นค่าบวก ดังนั้นค่า ที่วัด
ได้ต้องมีค่าที่มากกว่า limit จึงจะผ่าน ผลทดสอบ จะแสดงเฉพาความถี่ที่มีค่า margin น้อยที่สุด (worst case) ของแต่ละคู่สาย ซึ่งค่าที่วัดได้ควร
มากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

PSNEXT:

                Power Sum Near End Crosstalk เป็นค่าการรบกวนของสายสัญญาณ
ระหว่างคู่สายสัญญาณคู่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ
เหมาะสำหรับระบบที่มีการใช้งานสายสัญญาณพร้อมกัน 4 คู่สาย โดยมีค่า
ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

ACR:
                เป็นค่าที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง Attenuation และ NEXT ซึ่งแสดง
ให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณ โดยดูจากผลของค่าลดทอนและ
การรบกวนจากสายนอกครบคู่กัน ซึ่งค่า ACR ที่มากกว่ามาตรฐานจะทำ
ให้รับส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

PSACR:
                เป็นค่าที่แสดงอัตราส่วน ACR ที่ได้รับการรบกวนจากคู่สายอื่นที่ทำการวัดร่วมด้วย โดยผลที่ได้จะไม่คำนึงถึงค่า PSNEXT ซึ่งควรมีค่ามากกว่า
มาตรฐานที่กำหนด

ELFEXT:
                Equal level far End Crosstalk ซึ่งเป็นผลของการรบกวนจากสายสัญญาณ
คู่อื่น ที่ทำการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยทำการวัด
การรบกวนชนิดชี้ ทางด้านปลายทาง ซึ่งต่างกับ NEXT ที่ทำการวัดการ
รบกวนทางด้านต้นทาง ซึ่งค่ารบกวนมีค่ามากกว่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับ NEXT

PSELFEXT:
                เป็นผลรวมของการทดสอบแบบ ELFEXT โดยเป็นการรบกวนจาก
สายสัญญาณคู่อื่นรบกวนสายสัญญาณที่ทำการทดสอบ ซึ่งควรมีค่ามากกว่า
มาตรฐานที่กำหนด

SAVE:
                กดปุ่ม SAVE แล้วตั้งชื่อเพื่อทำการเซฟการTEST แล้วกดปุ่ม SAVE เพื่อทำการ SAVE

 

 

 

Impedance:
                เป็นค่าความต้านทานของขดลวดของสายสัญญาณแต่ละคู่ มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohms)เนื่องจากสายสัญญาณมีการตีเกลียวของแต่ละคู่ละคู่สาย ทำให้เกิดค่าความต้านทานจากการขดและพันกัน ต้องอยู่ในช่วง 85-115 Ohms

SETUP

Twisted Pair:
                เป็นการตั้งค่าของโหมดสาย UTP ที่เราจะนำมาทำการทดสอบ
Test Limit:
                เป็นการตั้งเกณฑ์การวัดของสายที่เราจะทำการทดสอบ
Cable Type:
                เป็นการเลือกชนิดของสายที่เราจะทำการทดสอบ
NVP:
                ค่าความเหนี่ยวนำในสาย
Outlet Configuration:
                เป็นการกำหนดมาตรฐานในการทดสอบ
HDTDX/HDTDR:
                การตั้งค่าการแสดงผลของการทดสอบว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน

SPECIAL FUNCTIONS

Set Reference:
                เป็นการปรับแต่งเครื่องทั้งสองตัวระหว่าง ตัว Main และตัว Remote

Battery Status:
                เป็นการแสดงผลเพื่อบอกปริมาณแบตเตอร์รี่ ของ Main, Remote

Instrument Settings

 ประกอบด้วย:

Cable ID Source

Language

Audible Tone

Store Plot data

Date

Power Line Frequency

Current Folder

Time

 

Result Storage Location

Numeric Format

 

Operator

Length Units

 

Site

Power down Time-Out

 

Personet ผู้ให้บริการงานด้าน ระบบเเลน (LAN), รับเดินสาย lan, เดินสายแลน, รับติดตั้งระบบ lan, รับเดินสายแลน ราคาถูก, รับเดินสายแลน, ติดตั้งระบบ lan, วางระบบ lan, เดินสาย lan, ติดตั้งระบบแลน, ติดตั้งแลน, รับเดินสายแลน, วางระบบแลน, รับทดสอบสาย lan, งานเดินสายแลน, เดินสายแลน กรุงเทพ, ทั่วประเทศ, การันตีคุณภาพ อันดับ 1 ในวงการ